ความหลากหลายทางนิเวศวัฒนธรรมบางปลาสร้อย: ฐานรากและภูมิพลังของจังหวัดชลบุรี A Variety of Bang Plasoi Ecological Aspect of Culture: Foundation and Intelligence Power of Chon Buri

Main Article Content

ภารดี มหาขันธ์
นันท์ชญา มหาขันธ์

Abstract

งานวิจัยนีมี้วัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความหลากหลายทางภูมินิเวศ และวัฒนธรรมเมืองบางปลาสร้อย 2) ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ 3) สังเคราะห์ปัจจัยที่เป็นฐานรากและภูมิพลังของจังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า เมืองบางปลาสร้อยเป็นเมืองท่าจอดพักสินค้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น มีภูมินิเวศที่หลากหลาย สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรการท่องเที่ยว และทรัพยากรมนุษย์ นำมาซึ่งความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ภมูิปัญญาในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ บางปลาสร้อย (ชลบุรี) สะท้อนให้เห็นนโยบายการปกครองที่สำคัญของผู้ปกครองราชอาณาจักร และรัฐไทยในแต่ละยุคสมัยซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญ ในการสร้างฐานรากและเป็นภมูิพลัง ให้แก่ชลบุรีเช่น นโยบายการเพิ่มกำลังคน นโยบายสร้างความสัมพันธ์กับชาวตะวันตก นโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองกับจักรวรรดินิยมตะวันตก นโยบายปฏิรูประเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค นโยบายขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษา ออกสู่ภูมิภาคการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นโยบายสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รวมทั้งนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ที่กำหนดให้ ชลบุรีเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้านธุรกิจการค้า และการบริหารงานภาครัฐ แหลมฉบัง เป็นท่าเรือสมัยใหม่ของประเทศ พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวควบคู่ไปกับศูนย์พาณิชย์ และธุรกิจการค้า นโยบายของรัฐแต่ละยุคสมัย ล้วนช่วยเสริมฐานราก และเป็นภูมิพลังให้แก่ชลบุรีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความหลากหลายทางภูมินิเวศ และวัฒนธรรมภูมิปัญญา


This research, relied upon historical method, aimed 1) to examine the varieties of landscape ecology and culture of Bang Plasoi, 2) to study the historical development, and 3) to synthesize foundation and intelligence power of Chon Buri 


The findings revealed that Bang Plasoi, from Ayutthaya period to the beginning of Rattanakosin period, was a port town with various types of landscape and abundance of natural, tourism, and human resources. These resulted in varieties of culture and wisdom of lifestyles and occupations. The historical development of Bang Plasoi reflected the significant governmental policies of the kingdom ruler and Thai state in each period. The Policies played important role in the development of foundation and intelligence power of Chon Buri. The policies included policy on manpower increasing, policy on Western affairs, policy on l essening the political tension from Western imperialism, policy on revolution of regional government regulations, policy on expansion of tertiary education to regions, becoming a member of The Southeast Asia Treaty Organization—SEATO, policy on energy security, and policy on eastern coastal area development which appointed Chon Buri to become trading center of the east and center of governmental administration. As a result, Laem Chabang Sea Port was established. Pattaya was increasingly promoted as a tourist city and commercial center. Policy of the government in each period entirely strengthened the foundation and the intelligence power of Chon Buri within various landscapes and culture of wisdom.


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles

References

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2445-2449). เอกสารรัชกาลที่ 5 ก.14 เรื่อง “จัดการทหารเรือทางหัวเมืองชายทะเล” (7 ส.ค. ร.ศ.121-6
มี.ค. ร.ศ.125)

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2453-2498). เอกสารรัชกาลที่ 6 ม.3.2/1.23 แผนกปกครอง (ปักปันท้องที่ พ.ศ. 2453-2498)

กรมศิลปากร. (2483). ชลบุรีภาคต้น. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมเพลิงศพนางเทศ สมุทรานนท์ ณ เมรุวัด.

จังหวัดชลบุรี. (2544). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นชลบุรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ฉันท์ ขำวิไล. (2502). 100 ปีของสุนทรภู่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม.

ฉันท์ ขำวิไล. (2503). ประชุมนิราศสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

แชรแวส, นิโคลาส. (2506). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชา) (สันต์ ท.โกมลบุตร, แปล) พระนคร: ก้าวหน้า

ปาเลกัวซ์ญังปัปติสต์. (2520). เล่าเรื่องกรุงสยาม. (สันต์ ท.โกมลบุตร, แปล.) กรุงเทพฯ:ก้าวหน้า

ภารดี มหาขันธ์. (2552). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชลบุรี. ชลบุรี. สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภารดี มหาขันธ์. (2527). รัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศ (พ.ศ. 2398-2475). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ลาลูแบร์, ซิมมอน, เดอ. (2510). จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์. (สันต์ ท.โกมลบุตร, แปล) กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า.

วิจิตรมาตรา, ขุน (2497). เรื่องของเมืองชลฯ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์.พิมพ์แจกเนื่องในงานทอดกฐิน ณ วัดพานทอง อำเภอ
พานทอง จังหวัดชลบุรี.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). อารยธรรมฝั่งทะเลตะวันออก. กรุงเทพฯ: มติชน.

สกินเนอร์, วิลเลียม จี. (2548). สังคมจีนในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2) (พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคนอื่น ๆ ,แปล) กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

สุบิณ สืบสงวน. (2518). ที่ระลึก 80 ปี สุบิณ สืบสงวน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตีรณสาร.

เสนาะ อูนากูล. (2552). อัตชีวประวัติและงานของเสนาะ อูนากูล. (พูนสิน วงศ์กลธูต, บรรณาธิการ) กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อ
การพัฒนาประเทศไทย.

อคิน ระพีพัฒน์, ม.ร.ว.(2521).สังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ.2325-2416.(ม.ร.ว.ประกายทอง สิริสุข และพรรณี
สรงบุญมี, แปล) กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

อินแกรม, เจมส์ ซี. (2552). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศไทย 1850-1970. (ชูศรี มณีพฤกษ์ และเฉลิมพจน์ เอี่ยมกมลา,
แปล) กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.