ฉะเชิงเทรา: เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจแห่งลุ่มน้ำบางปะกง (พ.ศ. 2398-2554) Chachoengsao: The Economic Importance of the Bang Pakong River Basin (1855-2011)

Main Article Content

อิงตะวัน แพลูกอินทร์
ภารดี มหาขันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ฉะเชิงเทรามีพัฒนาการจากเมืองเล็ก ๆ สู่การเป็นเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมืองนี้ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ 


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ฉะเชิงเทรามีพัฒนาการ ประกอบด้วย 1) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองในลุ่มน้ำบางปะกงก่อเกิดทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ 2) นโยบายของรัฐ 3) ความหลากหลายทางชาติพันธุ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการประกอบอาชีพที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ ทำให้มีผลผลิตทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่หลากหลาย มีการค้าและบริการที่เจริญรุ่งเรืองก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งเชิงบวกคือ เกิดการลงทุน ทางเศรษฐกิจ การผลิตเพื่อการค้า การจ้างงาน การรับวิทยาการต่างชาติ การขยายตัวของชุมชน เป็นแหล่งรายได้ของรัฐ และการพัฒนาสู่การเป็นเมืองรองของกรุงเทพฯ ส่วนผลกระทบเชิงลบคือ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาแรงงานต่างด้าว ความเสื่อมของอุตสาหกรรมในครัวเรือน วิถีชีวิตชาวเมืองเปลี่ยนแปลง แต่ได้พยายามแก้ปัญหา โดยนำแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้จนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป


The purposes of this research are to study important factors supporting Chachoengsao leap development from level-4 city to a major economic city and to study economic development process as well as the impact from economic development in Chachoengsao by using qualitative research.


Based on the research findings, there are 3 important factors which encourage Chachoengsao to develop: (1) geographical factor, (2) the policy of the governor and (3) ethnical diversity, culture, and wisdom in living and working. These factors affect economic development process in terms of agriculture, industry, commerce, and service. More importantly, Chachoengsao has potential and clear direction of economic development in a gradual and natural way. From academic perspective, it is a leap development, which has positive effects including economical investment, commercial production, employment, knowledge acquisition from other countries, community setup, city expansion, state revenue source, and the development into level-2 city. On the other hand, there are some negative effects such as natural resource being destroyed, environmental problem, alien labor problem, household industry deterioration, and changes in lifestyle. However, applying H.M. King Bhumibol Adulyadej’s Philosophy of Sufficiency, people in Chachoengsao live in an economically friendly way to conserve the environment and sustainably develop the economy.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles

References

กิจจา วัฒนสินธุ์. (2523). ประวัติเมืองฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2539). ฉะเชิงเทราเมืองแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ: ที ซี จี พริ้นติ้ง.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2556). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง และสังคม. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์การพิมพ์.

ถนอม ตะนา. (2527). กิจการโรงสีข้าวในที่ราบภาคกลางของประเทศไทย พ.ศ. 2401-2481. สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้, ภาควิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บัญชา นีซัง. (2558, 27 มิถุนายน). ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. สัมภาษณ์.

บุษบงก์ ชาวกัณหา. (2549). ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรน้ำ ลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาผู้นำทางสังคมธุรกิจและการเมือง, วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม, มหาวิทยาลัยรังสิต.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน.กรุงเทพฯ:มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พิมพ์อุมา โตสินธพ. (2548). คลองเชื่อมกับพัฒนาการของชุมชนในลุ่มแม่น้ำบางปะกงระหว่าง พ.ศ. 2420-2500.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิเชษฐ โตนิติวงศ์. (2558, 20 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

มานพ แก้ววงษ์นุกูล. (2559, 30 มีนาคม). สัมภาษณ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วรรณี แพลูกอินทร์. (2538). ความสำคัญของการผลิตเพื่อการค้าของเมืองฉะเชิงเทราในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาบาวริง.
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิบูลย์ เข็มเฉลิมและคณะ. (2548). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิถีคนบนป่าตะวันออกผืนสุดท้าย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย.

ศรัญญา คันธาชีพ. (2540). พัฒนาการทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำบางปะกง พ.ศ. 2419-2475. สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
เฉียงใต้, ภาควิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพรรณ ทองเจิม, (2531). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยการเลือกที่ตั้งในการทำฟาร์มสุกรเพื่อการค้าระหว่างฉะเชิงเทรากับนครปฐม.
วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต, ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เศรษฐรัตน์ ตั๊นงาม. (2556, มกราคม-กุมภาพันธ์). 5 ผู้นำภาครัฐ-เอกชน ฉะเชิงเทรา เผยมุมมองจากการท่องอาเซียน เตรียมพร้อมสู่
AEC. ที่นี่...8 ริ้ว, 6(51), 5.

สุดใจ พงศ์กล่ำ. (2528). มณฑลปราจีนบุรี สมัยเริ่มแรกถึงสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ (พ.ศ.2436-2458).
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หอสมุดแห่งชาติ. (จ.ศ. 1217). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4. เลขที่ 69.

อิงตะวัน แพลูกอินทร์. (2542). ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวเมืองฉะเชิงเทราในช่วง 150 ปีรัตนโกสินทร์ : กรณีศึกษารูปปูนปั้นวัด สัมปทวน. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, กระทรวงวัฒนธรรม.

อิงตะวัน แพลูกอินทร์. (2547). เรือ:ภาพสะท้อนวิถีชีวิตของชาวบ้านในลุ่มน้ำบางปะกง. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,
กระทรวงวัฒนธรรม.

อังคณา แสงสว่าง. (2550). บทบาททางเศรษฐกิจของชาวจีนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่าง พ.ศ.2398-2475.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.