ดัชนีความสุขของประชาคมในมหาวิทยาลัยบูรพา Happiness Index of Burapha University Community

Main Article Content

จิตสวาท ปาละสิงห์

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อสำรวจดัชนีความสุขของประชาคมในมหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อเปรียบเทียบดัชนีความสุขของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาคมในมหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีลักษณะทางประชากรด้านข้อมูลส่วนบุคคลและสถานภาพการทำงานแตกต่างกันจำนวน 816 คน โดยประชาคมประกอบด้วย อาจารย์ เจ้าหน้าที่นิสิต และบุคลากรที่จ้างมาจากภายนอกมหาวิทยาลัย เครื่องมือการวิจัย คือ HAPPINOMETER หรือแบบสำรวจความสุขด้วยตนเอง พัฒนาโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัยพบว่า ประชาคมในมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะประชากรด้านข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีดัชนีความสุข 9 มิติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประชาคมในมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะประชากรด้านสถานภาพการทำงานที่แตกต่างกัน มีดัชนีความสุข 9 มิติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract

The research objectives of this study were to investigate happinessindex of Burapha University’s Community and to compare their demographicsand happiness index level. Samples were 816 persons consisting of 400 lecturers, service providingstaffs and outsources staffs and 416 students. The research tool was HAPPINOMETER developed by Institute for Population and Social Research of Mahidol University. The research results showed thatthere were significant differences between the samples’ demographics and working statuses and 9 dimensions of the HAPPINOMETER at the 0.05 level.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles