การศึกษาการแปรคำศัพท์ในภาษาพวนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี A Study of the Lexical Variation in Phuan Language of Ban Mi District, Lop Buri Province

Main Article Content

ฐิติกาญจน์ ใจไมตรี
อุมาภรณ์ สังขมาน

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้ มุ่งศึกษาการแปรคำศัพท์ในภาษาพวนตามปัจจัยทางสังคมด้านอายุ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนให้ถึงเห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ในภาษาพวน ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี การเก็บข้อมูลเก็บจากคนพวน 18 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 อายุ 65 ถึง 75 ปี กลุ่มที่ 2 อายุ 40 ถึง 50 ปีและกลุ่มที่ 3 อายุ 15 ถึง 25 ปี จากคำศัพท์จำนวน 400 คำ

ผลการศึกษาพบว่า การใช้คำศัพท์ภาษาพวนในแต่ละช่วงอายุแตกต่างกันกล่าวคือ ในช่วงอายุที่ 1 มีการธำรงภาษาพวนไว้มากกว่าช่วงอายุอื่น และปรากฏการแปรคำศัพท์มากที่สุดในช่วงอายุที่ 3 นอกจากนี้ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการใช้คำศัพท์พวนใกล้เคียงกับภาษาไทยกรุงเทพฯ มากขึ้น อันเป็นขั้นตอนการเปลี่ยนภาษาที่ดำเนินอยู่ เนื่องจากผู้พูดจำเป็นต้องใช้ภาษาไทยกรุงเทพฯ ในการศึกษาและทำงานในเมือง

Abstract

This article focuses on the lexical variation of Phuan language according to age, an important social factor, which reflects the tendency of language change in Phuan of BanMi, Lop Buri. The data were collected from 18 Phuan people of three age groups: (i) 65 - 75, (ii) 40 - 50 and (iii) 15-25 from 400 lexical forms. The results reveals that Phuan lexical usage in each group are obviously different, G1 maintains Phuan language more than the others while the most lexical variation is occurred in G3. The result also shows the tendency of Phuan lexical usage which is similar to standard Thai (Bangkok Thai). This is the step of language shift in progress. As the result of the speakers need to communicate in standard Thai (Bangkok Thai) more for their education or profession.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles