Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ผลจากการค้นคว้าวิจัย ในแง่มุมต่างๆ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รวมถึงการสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ และบุคคลที่สนใจทั่วไปได้มีเวทีและเปลี่ยนองค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

      ประเภทของผลงาน

      1.บทความทางวิชาการ (Article) งานเขียนซึ่งเป็นที่น่าสนใจ เป็นองค์ความรู้ใหม่ โดยได้กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางแก้ปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งในหนังสือ บทความวิชาการ อินเตอร์เน็ต ในการประกอบ วิเคราะห์ พิจารณาและเสนอแนวแนวทาง

  1. บทความวิจัย (Research Article) หมายถึงการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ โดบกล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการศึกษา สรุปผลและอภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ
  2. บทความปริทัศน์ (Review Article) หมายถึง งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ ทั้งกว้างและลึก มีความทันสมัยของเนื้อหาทางวิชาการโดยการวิพากษ์และมีข้อเสนอแนะแนวทางที่จะพัฒนาต่อยอดในการศึกษาและพัฒนาต่อไป
  3. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หมายถึงการถ่ายทอดความคิดเห็น ชี้จุดเด่น จุดด้อย ตลอดจนความรู้สึกเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านอย่างสมเหตุสมผล มีข้อมูลสนับสนุนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีอคติต่อสิ่งที่วิจารณ์

      หลักเกณฑ์ในการพิจารณาบทความ

      1.เป็นบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน

  1. บทความมีความยาว 10-25 หน้ามีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
  2. ต้นฉบับของบทความเขียนได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่จะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  3. พิมพ์ผลงานด้วยกระดาษ A4 หน้าเดียวโดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

บทความวิชาการ

(Article)

บทความวิจัย

(Research Article)

 

บทความปริทัศน์

(Review Article)

บทวิจารณ์หนังสือ

(Book Review)

1.บทนำ

2.เนื้อหา

3.บทสรุป

4.เอกสารอ้างอิง

1.บทนำ

2.วัตถุประสงค์

3.วิธีการศึกษา

4.สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล

5.บทสรุป

 

1.บทนำ

2.บทสรุป

3.เอกสารอ้างอิง

บทความที่แสดงให้เห็นคุณค่าและคุณูปการของหนังสือ บทความหรือศิลปะ นิทรรศการศิลป์ และการแสดงละคร หรือดนตรี โดยใช้หลักวิชาและดุลพินิจอย่างสมเหตุสมผล

 

2.ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK 14 โดยมีข้ออกำหนดดังนี้ 

   2.1 ขอบกระดาษ ขอบบน 1 นิ้ว ขอบล่าง 1 นิ้ว ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว ขอบขวา 1 นิ้ว

  2.2 ระยะระหว่างบรรทัด หนึ่งเท่า (Single Space)

 2.3 ตัวอักษร ใช้ TH SarabunPSK ตามที่กำหนดดังนี้

    o ชื่อเรื่อง (Title)

          - ภาษาไทย ขนาด 18 point, กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา

          - ภาษาอังกฤษ ขนาด 18 point, กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา

   o ชื่อผู้เขียน (ทุกคน)

          - ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย – อังกฤษ ขนาด 14 point , กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา

          - ที่อยู่ผู้เขียน ภาษาไทย – อังกฤษ และ e-mail ขนาด 14 point ขนาด 14 point , กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา และ เว้น 1 บรรทัด

  o บทคัดย่อ

          - ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ขนาด 16 point , กำหนดกึ่งกลาง , ตัวหนา และเว้น

          1 บรรทัด

          - เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทย ขนาด 14 point , กำหนดชิดขอบ , ตัวธรรมดา

          - เนื้อหา บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point , กำหนดชิดขอบ , ตัวหนา

   o คำสำคัญ ให้พิมพ์ต่อจากส่วนบทคัดย่อ ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 4-5 คำ ใช้ตัวอักษร ภาษาไทย หรือ อังกฤษ ขนาด 14 point

          - ย่อหน้า 0.5 นิ้ว

  o Keyword ให้พิมพ์ต่อจากส่วน Abstract ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point

  o รายละเอียดบทความ (Body)

          - คำหลักบทขนาด 16 point , กำหนดชิดซ้าย , ตัวหนา

          - หัวข้อย่อยขนาด 14 point , กำหนดชิดซ้าย , ตัวหนา

          - ตัวอักษรขนาด 14 point , กำหนดชิดขอบ , ตัวธรรมดา

          - ย่อหน้า 0.5 นิ้ว

    o คำศัพท์ ให้ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน

    o รูปภาพและตาราง กรณีรูปภาพและตาราง หัวตารางให้จัดชิดซ้ายของคอลัมน์ คำบรรยายรูปภาพ ให้อยู่ใต้รูปภาพ และจัดกึ่งกลางคอลัมน์ เนื้อหา และคำบรรยายภาพ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 point ตัวปกติ

    3.ระบุคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่เกิน 6 คำ

   4.ให้ระบุชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตำแหน่ง และสถานที่ทำงาน

   5.บทความที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ จะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำส่งวารสาร

   6. บทความที่ส่งมาตีพิมพ์จะได้การกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน

    7.หากบทความไม่ผ่านการพิจารณาทางวารสารจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบแต่ไม่มีการนำส่งบทความคืนแก่ผู้เขียน

     รูปแบบการอ้างอิง (การเขียนบรรณานุกรมแบบ APA)

รูปแบบการพิมพ์เอกสารอ้างอิง

  1. อ้างอิงจากหนังสือ
 
 

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์/: /สำนักพิมพ์.

 

 

 หมายเหตุ  -เส้นขีดเอียงแต่ละเส้น หมายถึง การเว้นระยะ 1 ตัวอักษร

                   -ชื่อเรื่องอาจทำเป็นตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องใช้ให้เป็นระบบเดียวกัน

ตัวอย่าง

วิภาส โพธิแพทย์.  (2561).  ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา.  กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Corbett, Greville G.  (2000).  Number.  Cambridge : Cambridge University Press.

    2. อ้างอิงจากบทความในหนังสือ บทความในวราสารหรือนิตยสาร รายงานการประชุมทางวิชาการ

บทความในหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//“ชื่อบทความหรือชื่อตอน,”/ใน/ชื่อหนังสือ.//ชื่อบรรณาธิการหรือชื่อผู้รวบรวม.// หน้าที่ตีพิมพ์บทความหรือตอนนั้น. //เมืองที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.

 

 

ตัวอย่าง

อานันท์  ปันยารชุน.  (2541).  “ภาวะผู้นำกับวิกฤตระบบราชการไทย,” ใน ผู้นำ. หน้า 35-41. กรุงเทพฯ :    มติชน.

Diller, Anthont. (2001). “Grammaticalization and Tai Syntactic Change,” In Kalaya Tingsabadh and Arthur S. Abramson, eds. Essays in Tai Linguistics. P.139-176. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

บทความในวารสารหรือนิตยสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(วัน เดือน ปี).//“ชื่อบทความ,”//ชื่อวารสาร.//ปีที่ (ฉบับที่)/:/ หน้าที่อ้างอิง.

 

ตัวอย่าง

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ.  (เมษายน 2527).  “การใช้สรรพนาม”. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 1(1) : 4-13.

Doran, Kirk. (January 1996). “Unified Disfied Disparity : Theory and Practice of Union Listing,” Computer in Libraries. 16(1) : 39-42.

  1. การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์

ชื่อผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).// ชื่อวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์.//ระดับวิทยานิพนธ์/ คณะ/ มหาวิทยาลัย.

 

 

         

 

 

ตัวอย่าง

สัณห์ธวัช ธัญวงษ์.  (2557). กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำ “ไว้”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

George, Christina.  (2006). Revised Syntactic Attributes for Relative Cause Simplification and Relative Pronoun Correction. Thesis (M.A.Sc.) University of Ottawa.

  1. การอ้างอิงจากรายงานการวิจัย และเอกสารวิจัยที่เสนอต่อหน่วยงานต่าง ๆ

ชื่อผู้เขียน. //(ปีที่พิมพ์). //ชื่อเอกสาร. //รายงานการวิจัย/เอกสารวิจัย หน่วยงาน.

 

 ตัวอย่าง

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2538). จริยธรรมในงานวิจัย. เอกสารวิจัย เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย          สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

     5. การอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เอกสารจากเว็บไซต์

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).// ชื่อเรื่อง.//(คำบอกประเภทของแหล่ง).//แหล่งที่มา : URL.//(วัน เดือน ปีที่ค้น)

 

ตัวอย่าง

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ผู้รวบรวม. วชิรญาณวิเศษ เล่ม 5-9. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/wachirayanviset. (12 กุมภาพันธ์ 2555).

Klintworth, G. (2000). China and Taiwan-Form Flashpoint to Redefining One China. (Online). Available : https://www.aph.gov.au/library/pubs/rp/htm.  (30 June 2000)

          การส่งต้นฉบับบทความ

          1.ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ เอกสารประกอบด้วย

                   1.1 ต้นฉบับจำนวน 2 ชุด

                   1.2 ไฟล์ข้อมูลส่งมาที่ Email: [email protected]

  1. ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แนบต้นฉบับ (File Attachment) ในรูปแบบของ MS Word มายัง Email: [email protected]