การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • Pattaravadee Siriwan

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i2.163769

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น, จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการโครงสร้างการบริหารงานของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรี วิเคราะห์ ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของผู้ใช้บริการ พร้อมกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จำนวน 20 แห่ง เน้นที่ ปัจจัยในการดำเนินงานที่ให้การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การศึกษาภาคสนาม การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย พบว่า การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เปิดดำเนินการ 12 แห่ง พบว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ขึ้นตรงกับหน่วยงานของรัฐบาล 10 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ประจำดูแลพิพิธภัณฑ์ 1 คน และมีงบประมาณสนับสนุนบำรุงรักษาพิพิธภัณฑ์รายปีจากทางรัฐบาล และมีเงินบริจาคด้วย และมีการจัดสรรเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบริการเปิดบริการเป็นแหล่งเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ได้แก่ 1.พิพิธภัณฑ์เครื่องจักรกลชลประทาน 2.พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร 3.พิพิธภัณฑ์วัดต้นเชือก 4.พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง 5.พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ 6.หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย 7.พิพิธภัณฑ์วางแผนครอบครัว 8.พิพิธภัณฑ์ถุงยางอนามัย 9.พิพิธภัณฑ์กรมพลาธิการทหารบก 10.พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี มีระบบฐานข้อมูลที่จัดการ 4 แห่งเท่านั้น เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ขึ้นตรงกับหน่วยงานเอกชน 2 แห่ง คือ 1.พิพิธภัณฑ์ดาวเทียม 2.พิพิธภัณฑ์บ้านดุริยางคศิลปินมนตรี ตราโมท มีเงินสนับสนุนจากรัฐมีการจัดการข้อมูลและระบบสารสนเทศอย่างเป็นระบบมีการบันทึกสถิติผู้เข้าชมเพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการเข้าชม

References

Charatdang, S. (2009), Management of Local Museums in Bangkok, Thesis of Master of Liberal Arts, Thammasat University

Charoenpot, S. (2005), Local Museum Handbook, Bangkok, Office of Museum

Wallipodom, S. (2008), Local Museum and History, Learning Process, Bangkok Lek-Prapai Wiriyapan Foundation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2018

How to Cite

Siriwan, P. (2018). การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(2), 157–174. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i2.163769