การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ไวพจน์ ดวงจันทร์
  • พงษ์พิพัฒน์ สายทอง

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i3%20SUP.214325

คำสำคัญ:

สื่อปฏิสัมพันธ์, การถ่ายทอดภูมิปัญญา, การออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้าขิด ตาบลหนองอ้อ
อาเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 2) พัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาการออกแบบ
ลวดลายผ้าไหมขิด 3) ศึกษาทักษะปฏิบัติการทอผ้าขิดของเยาวชนตาบลหนองอ้อ อาเภอหนองวัวซอ
จังหวัดอุดรธานี
กลุ่มตัวอย่าง จานวน 36 คน ประกอบด้วยผู้ประกอบอาชีพทอผ้าทั้งอาชีพหลัก และอาชีพ
เสริมจากบัญชีรายชื่อกลุ่มทอผ้าไหมขิดบ้านศรีชมชื่น เจ้าหน้าที่พัฒนาการอาเภอหนองวัวซอ และ
เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มพูนทักษะเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการ
เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้าง 2) แบบ
ประเมินคุณภาพสื่อปฏิสัมพันธ์ 3) สื่อปฏิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด
สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ลวดลายขิดที่มีความเหมาะสมที่สุดในการเริ่มต้นเรียนรู้ ประกอบด้วย ลายทาง 4 ตะกอ
ลายดอกแก้ว 8 ตะกอ ลายแมงงอด 8 ตะกอ ลายดอกพิกุล 12 ตะกอ และลายกระตุ้มทอง 12 ตะกอ
2. ผลการพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด
เยาวชนสามารถออกแบบลวดลายและทอผ้าไหมขิดได้ การประเมินสื่อปฏิสัมพันธ์จากผู้เชี่ยวชาญอยู่ใน
เกณฑ์คุณภาพ ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99
3. เยาวชนมีทักษะปฏิบัติการทอผ้าขิด ด้านการออกลวดลาย ด้านการทอผ้าขิด ผลการทดสอบ
ปฏิบัติการทอผ้ามีค่าร้อยละสูงกว่า ร้อยละ 50 ลาดับความถูกต้องจากมากไปหาน้อย คือ ลายดอกแก้ว
ลายทาง ลายกระตุ้มทอง ลายดอกพิกุล และลายแมงงอด

References

Chaetnalao, A. (2010). Architecture &
Digital Media.AD DESIGN. Sripatum
University.Bangkok.
Promlawan, K. and Suwankere, S.(2010).
Weaving Pha-Kint Cloth Thai Design
For Design and Development
Textile Product.Faculty of Industrial
Textile and Fashion Design. Rajamangala
University of Technology Phra Nakhon.
Srirubkwa, A. (2005). Development of
process skills; Fabric Design By
using a project plan, projectbased
learning, occupational
learning, and technology. Prathom
5. Mahasarakham University.
Mahasarakham.
Textile Museum Naresuan University.
(2007). Sen fai Sai Mai booklet.
Volume 1, Number 1 December
2007 – January 2008. Naresuan
University.
The Community Development
Department Udonthani. (2015).
Knowledge – Based OTOP Udonthani
: KBO2015. The Community Development
Department. Udonthani Province.
The Queen Sirikit Department of
Sericulture. (2014). Weaving
wisdom. Bangkok.
Toongsi, P. (2013). Study and development
of interactive media of learning
on human physical animation
based on the principles of
animation for youth learning
animation age 15-18 years
old.Srinakharinwirot University.
Udon Thani Municipality. (2014). Biography of
Udonthani interior. Udon Thani
Municipality. Udonthani.
Udonthani ProvinceMinistry of Interior.
(1985). Biography of Udonthani
interior.Amarin Printing. Bangkok.
Silk Conservation Center, (2014). Phakid.
Retrieved from www.gsds.go.th
/silkcotton/k_26.php[July,2017].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

ดวงจันทร์ ไ., & สายทอง พ. (2019). การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(3 SUP), 175. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i3 SUP.214325