การศึกษาการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • วนิดา ฉัตรวิราคม

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i2.233365

คำสำคัญ:

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม

บทคัดย่อ

  •          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพื่อศึกษาระดับการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการทดลอง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์ตามกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็ม ของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยรามคำแหง สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายสอบถามนักศึกษา แต่ละคน มีจำนวน 5 คน ที่สมัครใจร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการแยกสารผสมโดยใช้กรวยแยก แบบสังเกตเพื่อประเมินการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการทดลอง และแบบสังเกตเพื่อประเมินความสามารถในการบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์ตามกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็ม ของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และการหาค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินก่อนเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มแตกต่างจากหลังเรียน โดยที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนส่วนใหญ่ มีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับดีเยี่ยม แต่มีนักศึกษา 1 คน ที่มีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ 2. ระดับการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการทดลองของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี โดยทุกคนมีการวางแผนการทดลอง และวิธีทำการทดลองที่ดีความคล่องแคล่วในการทำงาน ส่วนใหญ่มีความคล่องแคล่วในการทำงานดี มี 2 คนที่มีความคล่องแคล่วในการทำงานพอใช้ 3. ระดับความสามารถในการบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์ ตามกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ทุกคนมีความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์อยู่ในระดับดี ส่วนใหญ่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี มี 1 คน ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ ส่วนความรู้ทางเทคโนโลยีพื้นฐานอาชีพ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ มี 1 คน ที่มีความรู้ในระดับดี และมี 1 คนที่มีความรู้ในระดับควรปรับปรุง

References

References
Chatwirakom, W and Smitasiri, N.2015.Using Scientific Activities to improve the Learning Behavior of Disabled Students in Ramkhamhaeng
University. Research Report. Faculty of Education. Ramkhamhaeng University, Bangkok
Chuearsa, C.2017. Factors of Smartphone Use inUndergraduate Study Ramkhamhaeng University. Research Report. The Office of Educational Technology. Ramkhamhaeng University, Bangkok
Intalapaporn, C Patphol, M Wongya, W and Pumsa-ard, S 2015. The Study Guidelines for Learning Management of the STEM Education
for elementary students. Veridian E–Journal, Silpakorn University Humanities, Social Sciences, and Arts. 8(1), 61-74 [Online]. 2019. Source:
file:///C:/Users/a/Downloads/29290-Article%20Text-82376-1-10-20150710%20(1).pdf [6 January 2019]
Khowtrakul, S. 2009. Educational Psychology. Chulalongkorn Printing House University, Bangkok.
Mindy Levine and others. 2015. Addressing the STEM Gender Gap by Designing and Implementing an Educational Outreach Chemistry Camp for Middle School Girls. Journal of Chemical Education. September 8, 2015.
Office of the Council of State. 2013. Empowerment of Persons with Disabilities Act, B.E. 2007
As amended (No.2) 2013. [Online]. 2017. Source:https://dep.go.th/sites/default/files/files/law/197.pdf [16 July 2017]Office of the National Economic and Social Development Board National Economic and Social Development .2016. Plan Twelfth
Edition, 2017 – 2021 Office of the National Economic and Social Development Board premier. [Online]. 2017. Source:https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420 [16 July 2017] Phuphabang, N.2016. The Use of a STEM Activity on Bioplastics from Cassava to Develop Integrated Science Process Skills for Mathayomsuksa 2 Students.
Thesis Master of Science (Chemical Education) Burapha University.Salaeh, N Mophan,N and Waedramae,M. 2017.
Effect of STEM Education on Chemistry Achievement, Analytical Thinking Ability and Instructional Satisfaction of Grade 10 Students. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences. 4 (1) January–June 2017
Sujirakul, S.2008. The Meeting of Basic Need in Educational Programs for Physically Challenged Students at Ramkhamhaeng
University. Research Report Student Affairs Division Office of the President. Ramkhamhaeng University, Bangkok
Suttirat, C. 2009. 80 Innovation in Learning Management. Bangkok: DENEX Inter
Corporation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019

How to Cite

ฉัตรวิราคม ว. (2019). การศึกษาการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2). https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i2.233365