ความสัมพันธ์ของลักษณะเฉพาะบุคคลกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นหวยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตจังหวัดปทุมธานีและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายการซื้อหวยเป็นเงินออมในระยะยาว

ผู้แต่ง

  • จิราพัชร สุทธิ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i2.233396

คำสำคัญ:

สลากกินแบ่งรัฐบาล,หวยใต้ดิน,ปัจจัยส่วนบุคคล,ปัจจัยทางสังคม,ค่าใช้จ่ายในการซื้อหวย,นักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมและการซื้อหวยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดินของนักศึกษา 3) ศึกษาพฤติกรรมและแนวคิดเกี่ยวกับการซื้อหวยของนักศึกษา นำไปสู่ข้อสรุปทางวิชาการ 4) เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้จากผลสำรวจ เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนหวยเป็นเงินออมของนักศึกษาในเขตจังหวัดปทุมธานี โดยใช้ปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยทางสังคมเพื่อศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งมีแนวโน้มจะมีค่าใช้จ่ายในการเล่นหวยเพิ่มมากขึ้น ทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับนักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 450 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยเฉพาะบุคคลของตัวนักศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ด้านสภาพเศรษฐกิจและความสนใจส่วนบุคคล มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเล่นหวย อย่างนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่ง ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับรายได้ และปัจจัยทางสังคมเรื่องกลุ่มอ้างอิง ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อหวยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

            การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายการซื้อหวยเป็นเงินออมในระยะยาว หากต้องการให้เกิดขึ้นจริง เมื่อนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีลักษณะดังนี้ 1) มีพฤติกรรมการซื้อหวยทั้งสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ เช่นซื้อทุกงวด 2) โดยมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเล่นหวยมากกว่าปัจจัยทางสังคม เนื่องจากมีค่าครองชีพไม่เพียงพอ 3) มักเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ไม่มีความรู้ด้านการออมและค่าใช้จ่ายในการเล่นหวยจะมาจากการขอเงินจากผู้อื่นไม่ใช่จากการหารายได้ด้วยตนเอง ผลสรุปกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะซื้อหวยในลักษณะแบบคืนเงินต้น โดยต้องการให้มีการคืนเงินต้นภายใน 3 ปี นำไปสู่ข้อเสนอแนะแนะควรให้ความรู้ด้านการออม ความเสี่ยง ผลตอบแทน รวมทั้งควรแนะนำการลงทุนประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าและเสี่ยงน้อยกว่าแก่เยาวชนเพื่อป้องกันการเกิดผู้เล่นหน้าใหม่อยู่ตลอดเวลาและปัญหาศีลธรรม

References

References
Anake Nawigamune. (2016). First in Siam. Bangkok: Seangdad.
Altfest, L. J. (2007). Personal Financial Planning.New York: McGraw-Hill/Irwin.among College Students. Financial Services Review, 7, 107-128
Blinder, Alan S. (2002). "Keynesian Economics". The Concise Encyclopedia of Economics Center for Gambling. Future of lottery fund for social development. Retrieved 2018. http://www.gamblingstudy-
Chalermpong pongpracha. (2015). Social Dimensions of Underground Lottery Wagering in Thailand, Local Administration Journal 8(4).
Cooper, D. R., & Schindler, P. S. (2001). Business research methods (7 ed.). New York McGrawHill. GV
Denduen Luengcheng. (1995). Role of printed media in supporting the activity surrounding lotteries. Thesis for the degree of master, Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2019

How to Cite

สุทธิ จ. (2019). ความสัมพันธ์ของลักษณะเฉพาะบุคคลกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นหวยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตจังหวัดปทุมธานีและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายการซื้อหวยเป็นเงินออมในระยะยาว. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2). https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i2.233396