นโยบายชาตินิยม และนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมที่มีต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง: ผลกระทบจากอดีตสู่ปัจจุบัน

Main Article Content

อภิญญา ดิสสะมาน

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “นโยบายชาตินิยม และนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมที่มีต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง: ผลกระทบจากอดีตสู่ปัจจุบัน” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและวิเคราะห์นโยบายชาตินิยมและนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ( assimilation ) ซึ่งเป็นนโยบายที่โดดเด่นมากในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนกระทั่งถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยศึกษามุ่งเน้นที่ผลกระทบนโยบายกับกลุ่มคนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งคนกลุ่มนี้ถูกทำให้เกิดความรู้สึกว่าต้องถูกกลืนกลายเป็นคนไทยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม ซึ่งทำให้เกิดการมองข้ามอัตลักษณ์และตัวตนที่เขาดำรงอยู่ และก่อให้เกิดปัญหา สร้างพื้นที่ความไม่ไว้วางใจ การต่อต้านอำนาจรัฐไทย ฯลฯ กระทั่งเกิดเป็นความสูญเสียและความรุนแรงอันหลีกเลี่ยงไม่ได้จนกระทั่งปัจจุบัน  


วิธีการศึกษาหลักของบทความนี้เป็นการศึกษาแบบสำรวจเอกสาร ( Documentary Research ) เพื่อค้นหาผลกระทบจากนโยบายชาตินิยมและนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะชาวมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้เพื่อเสนอแนะแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างเข้าใจบริบทเชิงประวัติศาสตร์สังคม ซึ่งผลจากการศึกษาวิเคราะห์เอกสารสรุปได้ว่า นโยบายชาตินิยมและนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการกำหนดนโยบาย (Policy making) และกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ( Policy implementation) ของรัฐบาลไทยซึ่งพยายามที่จะสร้างรัฐไทยที่มีความเป็นเชื้อชาติเดียว  โดยการรวมศูนย์อำนาจและกดทับในความแตกต่างให้อยู่ร่วมภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียวกัน


บทความนี้นำเสนอข้อสำคัญของนโยบายชาตินิยมและนโยบายการผสมกลมกลืนในช่วงสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงจบสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของนโยบายจากอดีตสู่ปัจจุบันและนำเสนอทางแก้ไขเพื่อการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้อย่างการยอมรับตัวตน ( Identity ) แห่งความหลากหลายของกลุ่มคนที่อยู่ในจังหวัดชายแดนใต้และรัฐจะไม่ผลิตไม่ผลิตนโยบายชาตินิยมแบบเดิมแต่กลายร่างเปลี่ยนรูปแบบที่ทำให้เกิดการกระทำความรุนแรงที่ซ้ำซากเชิงกายภาพและวัฒนธรรม ซึ่งบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและทัศนะหลักในประเด็นการกลืนวัฒนธรรม ลดอัตลักษณ์ ของประชาชนในพื้นที่ยังคงเป็นประเด็นหลักในการนำมาพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาและแสวงหาแนวทางในการบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในพื้นที่อ่อนไหวอย่างสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งบทความนี้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินนโยบาย (Policy Recommendations) ในอนาคตว่า รัฐจำเป็นจะต้องมีการกระจายอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในการบริหารจัดการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดอำนาจจากส่วนกลาง และกระจายอำนาจลงสู่พื้นที่เพื่อตอบสนองการบริหารที่สอดคล้องสถานการณ์และบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรู้เท่าทันและยั่งยืน ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาจากผลกระทบในอดีตสู่ปัจจุบัน ต้องสร้างยุทธศาสตร์ความไว้วางใจ การหมั่นสร้างสัมพันธ์และมองเห็นตัวตนของกันและกันมากขึ้นทั้งฝ่ายรัฐ ฝ่ายผู้ก่อความรุนแรงและประชาชนในพื้นที่  เพื่อนำไปสู่จุดร่วมที่เป็นการปฏิเสธความรุนแรงทุกรูปแบบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เขมชาติ เทพไชย( บรรณาธิการ).( 2555). มิติวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภาพอนาคตคืนสู่สันติชายแดนใต้.นนทบุรี :กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง.
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวยและคณะ. (2548). การดำเนินงานกระบวนการยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้: ปัญหาและแนวทางแก้ไข (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เดือนตุลา
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์.(2551).ความรุนแรงกับการจัดการ“ความจริง”: ปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2547). ความเงียบของอนุสาวรีย์ลูกปืน: ดุซงญอ-นราธิวาส 2491,25 , 132-150
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์.(บรรณาธิการ). แผ่นดินจินตนาการ : รัฐและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้กรุงเทพฯ: มติชน.
สุชาติ เศรษฐมาลินี(2557).การสร้างสันติภาพและสันติวิธีในวิถีอิสลาม. (ออนไลน์) เข้าถึงโดย http://www.deepsouthwatch.org/node/5702 สืบค้น 29 กันยายน 2557.
ปิยนาถ บุญนาค. (2534).นโยบายการปกครองของรัฐบาลไทยต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2475 - 2516). กทม: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พลธรรม จันทร์คำ (2554:75) เสนอในรายงาน โครงการสรุปบทเรียนและถอดองค์ความรู้ 5 ปการวิจัยและพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( 2548-2552).
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2550).ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวมลายูมุสลิม. ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์ (บรรณาธิการ), มลายูศึกษา: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายูมุสลิมในภาคใต้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
ธงชัย วินิจจะกุล.“อนาคตการศึกษาเรื่องรัฐในสังคมไทย” ในยศ สันตะสมบัติและคณะ .(2551).รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน 1.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2548). “หนึ่งปีหนึ่งทศวรรษความรุนแรงชายแดนภาคใต้: ปริศนาของ ปัญหาและทางออก” รัฐศาสตร์สาร.ปี่ที่ 6 ฉบับที่ 1.
สถาบันพระปกเกล้า.(ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสัมมนา สันติธานี วิถีวัฒนธรรมสู่สันติสุขชายแดนใต้ โดยคณะนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 2.
สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). มานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ:ด่านสุธาการพิมพ์.
Delanty, G. (2000). Modernity and postmodernity: Knowledge, power and the self.London: SAGE Publications Ltd.
Kasian Tejapira.(2001). Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927 – 1958. Melbourne: Kyoto University Press and Trans Pacific Press,
Samuel P. Huntington. (1996). The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order. New York: Simon & Schuster.