การนำนโยบายป้องกันอาชญากรรมไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสถานีตำรวจนครบาล กองบังคับการตำรวจนครบาล 9 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Main Article Content

โสภาพรรณ สุริยะมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันอาชญากรรมไปปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานีตำรวจนครบาลหนองแขม  สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลูและสถานีตำรวจนครบาลหลักสอง และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันอาชญากรรมไปปฏิบัติดังกล่าว  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผสมผสานเข้าด้วยกัน  โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนในสถานีตำรวจนครบาลดังกล่าว  และเก็บรวบรวมข้อมูลมาได้ทั้งสิ้น 336 ราย 


ผลการวิจัยพบว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติในทุกๆ ด้านได้รับความสำเร็จในระดับสูง  นโยบายด้านต่างๆ เหล่านั้นได้แก่ ด้านการป้องกันอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม  ด้านการพัฒนาระบบสายตรวจให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพ  ด้านการพัฒนาระบบการแจ้งเหตุทุกระดับโดยเฉพาะศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ให้ดีขึ้น  ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันปัญหาอาชญากรรม ด้านการจัดระเบียบสังคมและการเข้มงวดกวดขันแหล่งอบายมุขต่างๆ และด้านการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและบูรณาการทุกภาคส่วน


นอกจากนั้นแล้วความสำเร็จในการนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติยังแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ซึ่งเป็นผลการวิจัยที่ยอมรับสมมติฐานข้อที่หนึ่งที่กำหนดไว้ 


ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการป้องกันอาชญากรรมไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่  ปัจจัยทางด้านกลไกและกระบวนการในการบังคับใช้นโยบาย ด้านการสื่อสารนโยบาย  ด้านทัศนคติต่อนโยบายของผู้ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านความเป็นอิสระในการนำนโยบายไปปฏิบัติ (มาตรฐานนโยบาย) ด้านคุณลักษณะของหน่วยงานที่ปฏิบัติ ด้านเงื่อนไขทางการเมือง และด้านทรัพยากรของนโยบายเหล่านี้ตามลำดับ ซึ่งเป็นปัจจัยในเชิงทฤษฎี  และเป็นผลการวิจัยที่ยอมรับสมมติฐานที่กำหนดไว้ในข้อที่สองและที่สำคัญยังสอดคล้องกับทฤษฎีของ Van Horn and Van Meter ในเรื่องตัวแบบสหองค์การอีกส่วนหนึ่งด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ระบบสารสนเทศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (POLIS) (2558) สถิติการเกิดอาชญากรรมสูงสุดโดยรวมกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) :http://pitc.police.go.th/dirlist/dirlist.php?dir=/crimes วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2558.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (2554). นโยบายสาธารณะ. แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). คู่มือการบริหารงานและป้องกันปราบปรามอาชญากรรม.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ตำรวจ.
Bailey, S. K., and E.K. Mosher, E. K. (1968) “ ESEA : The Office of Education Administers, Syracuse: Syracuse University.
Barron, Stephen W. (2003) “Self-Control, Social Consequences, and Criminal Behavior: Street Youth and the General Theory of Crime” Journal of Research in Crime and Delinquency November, Vol. 40, no.4 (403-425)
Derthick, M. (1972). New Towns in Town. Washington D.C.: The Urban Institute.
Dolbeare, K. M. and P. E. Hammond. (1971). The School Player Decisions: From Court Policy to Local Practice. Chicago: University of Chicago Press.
Downs, Anthony. (1967). Inside Bureaucracy. Boston: little Brown.
Ellwanger, Stephen J. and Pratt, Travis C. (2014) “Self-Control, Negative Affect, and Young Driver Aggression: An Assessment of Competing Theoretical Claims”
Etzioni, Amitai (1961) A Comparative Analysis of Complex Organizations. New York: free Press.
Kaufman, Herbert. (1971). The Limits of Organization Change. Alabama: University of Alabama Press.
Lab, Stephen P.(1979) Crime Prevention Approaches, Practices and Evaluations. Third Edition. Ohio: Anderson Publishing Co.
Likert, R. (1932). “A Technique for the Measurement of Attitudes” Archives of Psychology; No. 140
Meneses, Rohald A. (2009). “Cross-Cultural Test of Social Learning, Self-Control, Social Bonding and General Theories of Crime And Deviance” Dissertation the Degree of Doctor of Philosophy. Graduate School of the University Of Florida.
Moon, Byongook and Alarid F. (2014) “School Bullying, Low Self-Control, and Opportunity” Journal of Inter Personal Violence June 13.
Murphy, J.T. (1971). “Title I of ESEA: The Politics of Implementation Federal Education” Harvard Educational Review. 41 February.
Peltason, J.W. (1961). Fifty-Eight Lonely Men: Southern Federal Judges and School Desegregation. New York: Harcourt, Brace and World.
Ripley, R.B., G.A. Franklin, W.M. Holmes, and W.M. Moreland. (1973). Structure, Environment, and Policy Actions: Exploring Model of Policy Making. Beverly Hills, California: Sage Publications.
Rourke, F.E. (1969). Bureaucracy, Politics and Public Policy. Boston: Little, Brown.
Neustadt, Richard E. (1960). Presidential Power. New York: John Wiley.
Sampson, Robert J., Morenoff, Jeffrey D. and Raudenbush, Stephen. (2005). “Social Anatomy of Racial and Ethnic Disparities in Violence” American Journal of Public Health. February, Vol. 95, no. 2 (224-232)