การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมของ โรงแรม เซ็นทรา เซ็นทรัลสเตชัน กรุงเทพฯ

Main Article Content

วัชรวีร์ เทพประภักษ์

บทคัดย่อ

ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรมจึงถือเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสู่ความเป็นเลิศขององค์การ และเกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน การศึกษาวิจัยเรื่อง “การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมของโรงแรม เซ็นทรา เซ็นทรัลสเตชัน กรุงเทพฯ” ใช้รูปแบบการประเมินด้วยแบบจำลองซิปป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันและทัศนคติที่ดีต่อองค์การ (2) วิธีการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้เข้าฝึกอบรม (3)ผลลัพธ์หรือความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมของโรงแรม เซ็นทรา เซ็นทรัลสเตชัน กรุงเทพฯ และ (4)ความสัมพันธ์ระหว่างบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการฝึกอบรม และผลลัพธ์ของการฝึกอบรม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการถึงระดับหัวหน้างานจำนวน 78 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation) และตัวแบบสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model – SEM) ด้วยโปรแกรม PLS-Graph


ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดความผูกพันและทัศนคติที่ดีต่อองค์การมากที่สุดคือ หัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชา, เพื่อนร่วมงาน, ชื่อเสียงและความมั่นคงขององค์การ ตามลำดับ (2) รูปแบบการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และความเข้าใจมากที่สุด คือการสัมผัส/ลงมือทำ/ฝึกปฏิบัติ โดยมีคะแนนสูงถึง 70.5% (3) พนักงานระดับปฏิบัติการและหัวหน้างานของโรงแรม เซ็นทรา เซ็นทรัลสเตชัน กรุงเทพฯ มีความคิดเห็น/ความพึงพอใจต่อบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ของการฝึกอบรมฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกหมวด และ (4) องค์ประกอบต่างๆของหลักสูตรฝึกอบรมล้วนมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่าบริบทและปัจจัยนำเข้ามีอิทธิพล/ความสัมพันธ์ต่อกระบวนการ ในขณะที่กระบวนการมีอิทธิพล/ความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์หรือความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ


แม้พนักงานโรงแรม เซ็นทรา เซ็นทรัลสเตชัน กรุงเทพฯ จะพอใจหลักสูตรฝึกอบรมฯในภาพรวมในระดับมาก แต่ยังมีบางประเด็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ขนาดและบรรยากาศของห้องฝึกอบรม ช่วงเวลาในการฝึกอบรม สำหรับปัจจัยนำเข้า ส่วนด้านกระบวนการควรเปิดโอกาสให้พนักงานฯได้ทดลองปฏิบัติมากขึ้น และปรับปรุงกิจกรรมระหว่างการฝึกอบรมให้น่าสนใจและส่งเสริมการเรียนรู้มากขึ้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chuchai Smithikrai. (2005). The training for company’s personnel. Fourth edition. Bangkok : Chulalongkorn University.
Daniel L.Stufflebeam. (2003). International Handbook of Educational Evaluation. Great Britain : Kluwer Academic.
Kanyawee Sriburi and others. (2013). Evaluation of English Camp “Putting BMA on the road to ASEAN 2015” by Department of Education Bangkok Metropolitan Administration. Nakornpathom : Mahidol University.
Kingfha Sinthuwong. (2007). Teaching to develop thinking and learning. Khonkaen : Khonkaen University.
Neil Fleming. (n.d.). The VARK Modalities. Retrieved on December 20, 2013, from http://www.vark-learn.com/english/page.asp?p=categories
Pong Horadan. (1997). Fundamental of industrial psychology and organization. N.p.\
Prachuap Kong-in. (2011). The factors affected to staff engagement level case study : Peerapat Technology Public Company Limited. Thesis for Master of Business Administration, Stamford University.
Prasong Ritthidet. (2007). Training needs analysis of hotels in Phuket. Thesis for Master of Business Administration, Sukhothai Thammithirat Open University.
Somchart Kityanyong and Ornjaree Na Takuatung. (2006). Technics of effective training. Second edition. Bangkok : Se-Education.
Ungsinun Intarakamhang. (2013). 3-Self Behavior Modification Programs Base on the PROMISE Model for Clients at Metabolic Risk from http://www.ccsenet.org/journal/index.php/gjhs/article/download/11261/9726.
Vichit Awakul. (1997). Training (The management of training). Second edition. Bangkok : Chulalongkorn University.
Yutthana Chaijukul. (2008). SuperMotivation. Trans. Dean R.Spitzer. Bangkok : A Team Business.