พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

Main Article Content

เพชรัต คุณาพันธ์
กีรติ สอนคุ้ม
จุฬารักษ์ เครือจันทร์
นิภาวรรณ วงษ์ใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการออกกำลังกาย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา    และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา    โดยเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ที่มาใช้บริการการออกกำลังกายภายในมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 388 คน ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 1 - 4 ชั้นปีละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์


ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อแรก พบว่าด้านความรู้ทางด้านการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โดยภาพรวมมีความรู้ในระดับดีมาก  ด้านเจตคติต่อการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.23) ด้านการปฏิบัติในการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา)  โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อย (X̅ = 3.44) และด้านสิ่งแวดล้อมในการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.73) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่สองพบว่า แนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา คือ ควรให้มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกายเพื่อดึงดูดความสนใจแก่นักศึกษาในการออกกำลังกายมากขึ้น  และควรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ควรจัดให้มีการรณรงค์การออกกำลังกายและการให้ข้อมูลความรู้ด้านการออกกำลังกาย  ด้านสุขภาพ  รวมทั้งโภชนาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของมหาวิทยาลัย  รวมทั้งทางมหาวิทยาลัยเพิ่มอุปกรณ์รองรับการใช้บริการซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงการบริการมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนศรี สิงห์ภู่. (2555). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของประชาชน.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttp://www.srinagarindhph.kku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=86:2011-11-09-06-40-59&catid=44:2011-06-13-02-42-42&Itemid=63
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2545). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (2545 – 2549). กรุงเทพฯ: ไทยมิตรการพิมพ์.
กุลธิดา เชิงฉลาด. (2549). ความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการให้บริการทางด้านการออก กำลังกาย และกีฬาของวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร.
จิตอารี ศรีอาคะ. (2543). การรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของพยาบาลโรงพยาบาลน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชการพยาบาลสตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เฉก ธนะสิริ. (2541). การเพิ่มประสิทธิภาพของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : ป. สัมพันธ์พาณิชย์.
เฉลิมพล ตันสกุล. (2541). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไชยา อังศุสุกนฤมล. (2543). พฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน ในวิทยาลัยพลศึกษาเขตภาคเหนือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ธนิตา ทองมี. (2546). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาเพ็ญ สุวรรณและสวิง สุวรรณ (2536)
ปริญญา ดาสา. (2544). พฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายของอาจารย์สตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (18 มกราคม 2560). ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://mahidol.ac.th/th/history_current.htm
มานพ สมาลีย์. (2548). การศึกษาการให้บริการเพื่อออกกำลังกายภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยงยุทธ ฮิ้นเจริญ. (2547). สภาพและความต้องการการออกกำลังกายของนักศึกษาสถาบันราชภัฎนครปฐม ปีการศึกษา 2546. สำนักวิจัย สถาบันราชภัฏนครปฐม.
วรัญญู รีรมย์. (2552). ความต้องการจัดบริการด้านการออกก าลังกายเพื่อสุขภาพ ของประชาชน ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล. (18 มกราคม 2560). บริการด้านกีฬา. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://ss.mahidol.ac.th/th2/index.php?option=com_k 2&view= item&layout= item&id=22&Itemi=126
ศิวะ พลนิล. (2555). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาปริญญาตรีสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต ภาคใต้. บทความวิจัยนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร.
ศรีบังอร สุวรรณพานิช. สภาพที่เป็นจริงและความต้องการในการออกกำลังกายของเยาวชนและประชาชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดกระบี่. โครงการวิจัยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชครบ 60 ปี. กระบี่ : สถาบันการพลศึกษา
สรัลรัตน์ พลอินทร์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย. วารสารเพื่อนสุขภาพ. 12(2) : 44-45.
อนุลักษณ์ เข็มกลัด. (2549). พฤติกรรมการออกกำลังกาย นักศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
อรษา คชสีห์. (2550). ความต้องการการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุดมศักดิ์ นิกรพิทยา. (2545). สุขภาพส่วนบุคคล. มหาสารคาม : ภาควิชาสุขศึกษา วิทยาลัยพลศึกษามหาสารคาม.
อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม. (2545). วิ่งสู่ชีวิตใหม่. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
Bloom, Benjamine.S. (1975). Toxonomy of Education Objective Hand Book I : Cognitive Domain. New York : David Mchkay.
Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personnality. New York : Harper and Row Publishers.