การประเมินผลสำเร็จกองทุนยุติธรรม

Main Article Content

ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความสำเร็จของกองทุนยุติธรรมตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 – 2556  ศึกษาเปรียบเทียบการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายของประเทศไทยกับต่างประเทศและเพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนากองทุนยุติธรรมให้สามารถช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ตามหลักสากล การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการสำรวจความคิดเห็น(Survey Research)ประชากรกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนผู้มารับบริการจากกองทุนยุติธรรมทั่วประเทศ จำนวน  คนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารกองทุนและสนทนากลุ่ม(Focus group)กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกภูมิภาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวน(ANOVA) และการประมวลผลเชิงพรรณนา


ผลการศึกษา พบว่า


1.ด้านการศึกษาประเมินผลสำเร็จจากการดำเนินงานกองทุนยุติธรรมตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2556 กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพรวมทั้ง คุณภาพการดำเนินงานของกองทุนฯและของผู้รับทุน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ผลลัพธ์ (Outcome) และความยั่งยืน (Sustainability) ผลกระทบของการพัฒนากองทุนยุติธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


  1. ด้านการศึกษาเปรียบเทียบการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายของประเทศไทยกับต่างประเทศ พบว่า ต่างประเทศส่วนใหญ่จะมีการสำรวจปัญหากฎหมายที่ประชาชนประสบในแต่ละพื้นที่ก่อน แล้วจึงมาดำเนินการกำหนดกรอบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เพื่อให้หลักประกันว่าตรงตามความต้องการ (Meet Need) ที่แท้จริง มีการเปิดเว็บไซต์การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่ประชาชนสามารถเข้าไปเรียนรู้ทำความเข้าใจ และสามารถยื่นเรื่องผ่านเว็บไซต์ได้โดยตรง มีการขยายการดำเนินงานไปที่การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR) มีการตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายระดับชุมชน (Community Center) ในขณะที่ไทยปัจจุบันมีศูนย์นำร่องดำเนินการจำนวนมาก แต่ยังขาดการสำรวจ ตั้งเวปไซด์และกองทุนยุติธรรม ไม่ได้มีเป้าหมายในการระงับข้อพิพาทระดับชุมชนแต่มีกลไกส่งเสริม เช่น ศูนย์ยุติธรรมชุมชน ศูนย์ระงับข้อพืพาทกรมคุ้มครองสิทธิ เป็นต้น

ค. ด้านการแสวงหาแนวทางในการพัฒนากองทุนยุติธรรมให้สามารถช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ตามหลักสากล จากการประเมินตามหลักยุทธศาสตร์และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ สามารถดำเนินการได้ ได้แก่ การสำรวจปัญหากฎหมาย การปรับปรุงคู่มือ การตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา การพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน การสร้างเกณฑ์วัดแบบMean/Merit test การถอดบทเรียนความผิดพลาดมาใช้ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรา พวงประยงค์ (2554) การประเมินผลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา: กรณีศึกษา สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดสมุทรสงคราม วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กิตติพงษ์ กิตติยารักษ์, บรรณาธิการ. (2543). ทิศทางกระบวนการยุติธรรมไทยในศตวรรษใหม่.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

______ , บรรณาธิการ. (2544). ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

______ , บรรณาธิการ. (2545). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ทางเลือกใหม่:สำหรับกระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กรมบัญชีกลาง, (2547). คู่มือระบบประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน กระทรวงการคลัง จัดทำโดย บริษัทไทยเรทติ้งแอนด์อิฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จากัด (สิงหาคม)

จิรนิติ หะวานนท์. (2522) สำนักงานทนายจำเลยของรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา, ดุลพาห เล่ม 4.ปีที่ 26 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2522) 63-79.

ชาติชาย กริชชาญชัย. (2529). ระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ยากจนในประเทศสหรัฐอเมริกา, ดุลพาห เล่ม 6 ปีที่ 33 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2529) 44-57

…………………………… (2527). สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับทนายความในประเทศสหรัฐอเมริกา. ดุลพาห เล่ม 6 ปีที่ 31 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2527) : 41-54.

ปกป้อง ศรีสนิท.(2555) การปฏิรูปกองทุนยุติธรรม (การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย).กรุงเทพฯ : เปนไท

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี.(2546) การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์.(2550) การประเมินโครงการ แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7 (ปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, (2551). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน สำนักนายกรัฐมนตรี
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2539). การวิจัยการประเมินผล. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2541). การประเมินผลโครงการ:หลักการและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
ภาษาอังกฤษ
Bain, Penny, Shelley Chrest and Marina Morrow (2000) Access to Justice Denied: Women and Legal Aid in British Columbia. Vancouver: Women's Access to Legal Aid Coalition.
Bevan, G., Holland, A. et al. (1994). Organizing Cost-Effective Access to Justice London, Social Market Foundation
Blankenburg, E. (2002) Legal Aid in The Netherlands, with some comparisons to the German Legal Aid System Mimeo. Amsterdam.
Bowles, R. (1996). "Reform of legal aid and the solicitors' profession." Hume Papers on Public Policy 3: 4-23.
Canadian Centre for Justice Statistics (2008): Legal Aid in Canada: Resource and Caseload Statistics 2006/2007, Statistics Canada
Cape, E. & Moorhead, R. (2006). Demand Induced Supply? Identifying Cost Drivers in Criminal Defence Work Legal Services Commission. London.
Capper, D. (2003). "The Contingency Legal Aid Fund: A Third Way to Finance Personal Injury Litigation." Journal of Law and Society 30(1): 66-83.
Fenn, P., Rickman, N. et al. (2007). "Standard Fees for Legal Aid: Empirical Analysis of Incentives." Oxford Economic Papers 59: 662-681.
Garoupa, N. and F. Stephen (2004). "Optimal Law Enforcement with Legal Aid." Economica 71: 493-500.
Genn, H. (1999). Paths to Justice: What People Do and Think about Going to Law. Oxford, Hart Publishing.
Goriely, T. (1997). "Legal Aid Delivery Systems: Which Offer the best value for money in mass case work? A Summary of International Experience." Lord Chancellor's Department Research Series 10/97.
Goriely, T., Tata, C. et al. (1997). Expenditure on Criminal Legal Aid: Report of a Comparative Study of Scotland, England and Wales and The Netherlands. Scottish Office Edinburgh.
Goriely, T. (2003). "Evaluating the Scottish Public Defence Solicitors' Office." Journal of Law and Society 30(1): 84-101.
Hughes, Patricia (1997). "Domestic Legal Aid: The Public Means of Redress for Private Matters," 47 UNB Law Journal 119.
Johnson, Earl Jr. (2000). "Equal Access to Justice: Comparing Access to Justice in the United States and Other Industrial Democracies," 24 Fordham International Law Journal S83.
LECG (2006). "Legal aid reforms proposed by the Carter report - analysis and commentary."
Legal Aid Manitoba (2007) Thirty Fifth Annual Report, Legal Aid Manitoba
Legal Services Commission (2007). "Statistical Information 2006/07.Legal Aid Review (Dame Margaret Bazley DNZM)2009 Improving the Legal Aid System: A public discussion paper Ministry of Justice: Wellington
Reilly, Jonathan J.T., Alan A. Paterson, and Wesley W. Pue (compiled by) (1999). Legal Aid in the New Millennium. Papers presented at the International Legal Aid Conference, University of British Columbia.
Reform: A New Legal Aid Plan for Ontario. North York, Ont: York University Centre for Public law and Public Policy.
Zemans, Frederick H., Patrick J. Monahan and Aneurin Thomas, eds. (1997). A New Legal Aid Plan for Ontario: Background Papers. North York, Ont: York University Centre for Public Law and Public Policy