การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา
คำรณ โชธนะโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งเพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 362 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 และคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสัดส่วนของส่วนงาน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งระดับชั้น (Stratified Sampling) แล้วคัดเลือกหน่วยตัวอย่างจากประชากรแต่ละกลุ่มมาให้ครบทุกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้ปรับโครงสร้างและมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์โดยใช้การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผู้ปฏิบัติงานมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.77 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย การประเมินผลการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยและสุขภาพ การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น (ค่าเฉลี่ย 4.04, 4.02, 3.78, 3.74, 3.67 และ 3.36 คะแนน ตามลำดับ)

  2. ผู้ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.02 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย เวลาปฏิบัติงาน ปริมาณงาน และคุณภาพงาน (ค่าเฉลี่ย 4.09, 4.06, 3.99 และ 3.96 คะแนน ตามลำดับ)

  3. ผู้ปฏิบัติงานที่มีระดับการศึกษา และสถานภาพของบุคลากรแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาปฏิบัติงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  4. การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันต่ำ (r = 0.186)

  5. การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน สามารถร่วมพยากรณ์ได้ดี ประกอบด้วย การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (X1) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (X6) ความปลอดภัยและสุขภาพ (X5) และค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น (X4) ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.599 ค่าประสิทธิภาพการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.359 สามารถทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม ได้ร้อยละ 35.9 มีค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ เท่ากับ 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสร้างสมการได้ดังนี้

                  สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ              Y/ = 3.51 + 0.19 (X1) 0.39 (X6) + -0.55 (X5) + 0.14 (X4)


                  สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน       Z/ = 0.26 (X1) + 0.73 (X6) + -0.85 (X5) + 0.30 (X4)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตยา เพิ่มผล. (2550). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 10. ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์. กรุงเทพมหานคร.
กิ่งพร ทองใบ. (2543). การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์. ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 10. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
เกรียงไกร เจียมบุญศรี และจักร อินทรจักร. (2544) คู่มือการบริหารทรัพยากรบุคคล. บุ๊ค แบงก์. กรุงเทพมหานคร.
เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2543). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. ขอนแก่น.
เฉลิมพงศ์ มีสมนัย. (2551). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ในประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1 หน้า 1-7 นนทบุรี สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ชัยทวี เสนะวงศ์. (2547). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. ค้นวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561 จาก http://www.consultthai.com.
ชุติภาส ชนะจิตต์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี. กรุงเทพมหานคร.
เชาว์ โรจนแสง. (2544). แนวคิดของการจัดการทรัพยากรมนุษย์. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1 หน้า 6-8. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุงเทพมหานคร.
ตุลา มหาพสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. พ.ศ.พัฒนา. กรุงเทพมหานคร.
ธัญญา ผลอนันต์. (2546). การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล : แนวทางสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน. อินโนกราฟฟิกส์. กรุงเทพมหานคร.
นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. จามจุรีโปรดักท์. กรุงเทพมหานคร.
นพ ศรีบุญนาค. (2545). องค์การและการจัดการ. สำนักพิมพ์สูตรไพศาล. กรุงเทพมหานคร.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2548). บทความวิชาการด้าน HR. รัตนไตร. นนทบุรี.
บรรยงค์ โตจินดา. (2543). การบริหารงานบุคคล (การจัดการทรัพยากรมนุษย์). รวมสาส์น. กรุงเทพมหานคร.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2541). การออกแบบการวิจัย. ประชาชน. กรุงเทพมหานคร.
พยอม วงศ์สารศรี. (2540). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร.
________. (2544). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 6 คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร.
เพียงพร โทบุราณ. (2551). ผลกระทบของประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6 สุวีริยาสาส์น. กรงเทพมหานคร.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). สารจากอธิการบดี. สืบค้นวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 จากhttps://mahidol.ac.th.
ยม นาคสุข. (2550). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2561 จาก http://www.gotoknow.org.
วรนารถ แสงมณี. (2547). การบริหารทรัพยากรมนุษย์/งานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 3 ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนพริ้นติ้ง. กรุงเทพมหานคร.
ลักษณชัย ธนะวังน้อย (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเครือเบทาโกร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (วิทยาการจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
สมชาย หิรัญกิตติ. (2550). แนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 9 หน้า 16-29 (วิทยาการจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5 สำนักพิมพ์บรรณกิจ. กรุงเทพมหานคร.
__________. (2545). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์บรรณกิจ. กรุงเทพมหานคร.
สมใจ ลักษณะ. (2546). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3 ธนชัชการพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หลักการและแนวคิด. เอ็ม.ที.เพรส. กรุงเทพมหานคร.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2552). การจัดการ : จากมุมมองบริหาร Management from the executive’s viewpoint. (CD-ROM) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
สุภาพร พิศาลบุตร. (2544). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วีจีพรินท์ติ้ง. กรุงเทพมหานคร.
สุภาพร เสรีรัตน์. (2552). ผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิภาพการให้บริการที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
เสถียรภาพ พันธุ์ไพโรจน์. (2543). ปรัชญาและแนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์. ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 8 สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ทวน พินธุพันธุ์. การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. http://www.facstaff.swu.ac.th// ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. doc สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561.
อนันท์ งามสะอาด. (2552). ความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพและประสิทธิผล. สืบค้นวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2561. จาก http://www.sisat.ac.th/main/images/document/pa27-04-54.html.
อำนวย แสงสว่าง. (2544). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพมหานคร.
Cronbach, Lee J. (1984). Essential of Psychological Testing. 2nd ed., New York : Harper and Row.
Ferguson, George A. (1981). Statistical Analysis in Psychology and Education. 3rd New York : McGraw-Hill Book Company.
Mondy, R.W., R.M. Noe and S.R. Premeaux. (1999). Human Resource Management. 7th ed. New Jersey:Upper Saddle River.
Xinzhu Liu and Anne Mills. (2007). Public Ends, Private Means : Stralegic Purchasing of Health Services. Washington, DC : World Bank Publications.
Zubair Aslam Marwat. (2007). “Impact of Human Resource Management Practices on Emplotees Performance A case of Pakistani Telecom Sector.” In Small Enterprise Conference 2007. 23 – 26 September Auckland, New Zealand.