ความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ชัยวัฒน์ ยี่วาศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล   และเพื่อศึกษาการเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามปัจจุยส่วนบุคคลในด้านการวางแผนในการทำงาน    ด้านประสิทธิภาพส่วนบุคคล    ด้านกระบวนการทำงาน   และด้านการให้บริการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 157 คน  ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากประชากรทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ แบบสอบถาม


                ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ภาพรวอยู่ในระดับมาก  โดยด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการให้บริการ (=3.88 , S.D. = .550) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการทำงาน (=3.78 , S.D. = .584)  ด้านงานประสิทธิภาพส่วนบุคคล (=3.71 , S.D. = .570)  และด้านการวางแผนในการทำงาน (=3.63 , S.D. = .518) ตามลำดับ  เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพบว่า  อายุ  ระดับการศึกษา  รายได้ต่อเดือน และอายุงาน ของบุคลากรมีความแตกต่างกัน  เป็นปัจจัยให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนปัจจัยอื่นๆ ทั้ง เพศ และ ตำแหน่ง ที่แตกต่างกันของบุคลากรไม่เป็นปัจจัยให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรแตกต่างกัน  โดยมีข้อเสนอแนะ คือ 1)  ควรมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์การสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น และควรจัดประชุมอย่างสม่ำเสมอให้บุคลากรทุกคนรับทราบแผนการทำงาน 2) ควรมีการอบรมและจัดกิจกรรมที่จะสร้างความสัมพันธ์และให้บุคลากรในคณะฯได้รู้จักกันมากขึ้น  และควรมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานเพื่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติคุณ วรกุล. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลการปฏิบัติงาน ของหัวหน้างานระดับต้น ในโรงงานอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โกมินทร์ ชินบุตร. (2543). การพัฒนาข้าราชการกับประสิทธิผลขององค์การ: ศึกษาเฉพาะข้าราชการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2542). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษากรณีบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นพรัตน์ กาญจนวิสุทธิเดช. (2544). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานข้าราชการกรมเสมียนตรา. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนชัย ยมจินดา. (2542). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรียาพร วงศ์อนุดรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
วรนาถ แสงมณี. (2547). การบริหารทรัพยากรมนุษย์/งานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดประสิทธิภัณฑ์แอนด์พริ้นติ้ง.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leader). กรุงเทพมหานคร บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร. (2542). การประเมินผลการปฏิบัติงาน . กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ (ไทย-ญี่ปุ่น).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ไดมอน อินบิสสิเน็ต เวิร์ล.
ศิริพร ประโยค. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบห้าประการของบุคลิกภาพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับผลการปฏิบัติงานของหัวหน้างานระดับกลาง ในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา: บริษัท รีท-ไรท์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนันทา เลาหนันท์ . (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.