พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภายในองค์กร : กรณีศึกษา บริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

มุจลินท์ จรมา
กนกพร ชัยประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติของบุคลากร ทั้งนี้พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ความหมายคือ พฤติกรรมการให้ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่บุคลากรมีให้ต่อองค์กร โดยไม่คาดหวังรางวัลหรือสิ่งตอบแทนใด ๆ เป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมโดยการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ทั้งนี้องค์ประกอบของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีที่นำมาใช้ในการศึกษา มีดังนี้ พฤติกรรมการช่วยเหลือ พฤติกรรมการมีน้ำใจ พฤติกรรมความจงรักภักดีต่อองค์กร พฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ พฤติกรรมการให้ความร่วมมือตามกฎระเบียบองค์กร และพฤติกรรมการพัฒนาตนเอง


ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้ง และปฏิบัติงานในบริษัท
โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,600 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรบริษัทโฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 400  คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นเพศชาย และเพศหญิง อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 20-25 ปี รายได้ 10,001 – 20,000 บาท ระดับการศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ที่ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี และมีระดับตำแหน่งเป็นบุคลากรทั่วไป เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านพฤติกรรมการช่วยเหลือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 และด้านพฤติกรรมการให้ความร่วมมือตามกฎระเบียบองค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุ พบว่า ด้านพฤติกรรมการให้ความร่วมมือตามกฎระเบียบองค์กร (มีค่า Sig = 0.013 < 0.05) และ ด้านพฤติกรรมการจงรักภักดีต่อองค์กร (มีค่า Sig = 0.016 < 0.05) แตกต่างกัน รายได้ พบว่า ด้านพฤติกรรมการจงรักภักดีต่อองค์กร (มีค่า Sig = 0.018 < 0.05) แตกต่างกัน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า ด้านพฤติกรรมการจงรักภักดีต่อองค์กร (มีค่า Sig = 0.000 < 0.05) ด้านพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ (มีค่า Sig = 0.020 < 0.05) และด้านพฤติกรรมการให้ความร่วมมือตามกฎระเบียบองค์กร (มีค่า Sig = 0.002 < 0.05) แตกต่างกัน ระดับตำแหน่ง พบว่า ด้านพฤติกรรมการมีน้ำใจ (มีค่า Sig = 0.032 < 0.05) แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายในองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.613 , Sig = 0.000 < 0.05) พบว่า พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายในองค์กร เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า พฤติกรรมการให้ความร่วมมือตามกฎระเบียบองค์กร (มีค่า r = 0.686 , Sig = 0.000 < 0.05) อยู่ในระดับมากที่สุด และ พฤติกรรมการช่วยเหลือ (มีค่า r = 0.434 , Sig = 0.000 < 0.05)อยู่ในระดับน้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองกาญจน์ ทองสุข. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากรในวิทยาการอาชีพร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
กษวรรณ ทองคำ. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีกับประสิทธิผลองค์การ ของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล)
ธนพฤทธ์ รัตนจาตุรนต์. (2548). องค์ประกอบที่มีผลต่อมาตรการที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการป้องกันสินค้าเสียหายของแผนกป้องกันการสูญเสีย บริษัท โฮมโปรดักส์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) สาขาประชาชื่น. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
พนิตภัทร ปิยะภาณีพงษ์. (2558). ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ และการทำงานเป็นทีม ที่ส่งผลต่อบรรยากาศในการทำงานของบุคลากรในกลุ่มบริษัทโมโน จำกัด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
พรเทพ แก้วเชื้อ. (2560). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(1), 210-217.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์
Organ, D. W. (1988). A Restatement of the Satisfaction – performance Hypothesis. Journal of Management, 14(4), 547-557.
Organ, D. W., & Konovsky, M. (1989:258). Cognitive versus affective determinants of organizational citizenship behavior. Journal of Applied Psychology, 74, 157-164.
Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. Homewood, Ill, : Richard D. Irwin.
Podsakoff & Mackenzie. (1994). Organization citizenship behaviors and sales unit effectiveness.
Journal of Marketing Research, 31(3), 351-363.