ปัจจัยทางการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของตลาดน้ำวัดลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ภัคสิริ เผือกผ่อง
แสงแข บุญศิริ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ปัจจัยทางการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของตลาดน้ำวัดลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของตลาดน้ำวัดลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ  นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 400 คน           โดยใช้แบบสอบถามเป็นการเก็บข้อมูล และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย                                    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการทดสอบสมมุติฐาน สถิติเชิงอ้างอิง ใช้ค่า Multiple Regression Analysis เพื่อหาค่า t- test, F- test ค่า Sig สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) สัมประสิทธิ์การกำหนด (R Square) และหาค่าการกระจาย ความคลาดเคลื่อน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี   การศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพสมรส ภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง อาชีพส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างคือ   รับราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ และรายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท


          สมมติฐานในครั้งนี้คือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของตลาดน้ำวัดลำพญา อำเภอ     บางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 5 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านที่พัก  ปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจ ปัจจัยด้านการเข้าถึง ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านกิจกรรมต่าง ๆ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลเชิงบวกซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญาแห่งนี้อีกครั้งได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจ ปัจจัยด้านการเข้าถึง และปัจจัยด้านกิจกรรม โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติยา มโนธรรมรักษา. (2559). การศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจมีผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาว ไทย กรณีศึกษาตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตร ศิลปศาสตรม หาบัณฑิต. สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
กัลยา สว่างคง. (2558). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในมุมมองของนักท่องเที่ยวกรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกในจังหวัดสระบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ปีที่18. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จักรกฤษณ์ แสนพรหม. (2556). ความจำเป็นของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ และ ผู้สูงอายุในพื้นที่ กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นพระธาตุบริวารของพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพ:บริษัทวิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น จำกัด. 4 พฤษภาคม 2559
ฐิติพร ศรีอาภรณ์.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบพำนักยาวใน จังหวัดเชียงใหม่ของ นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น. สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ฐิติมา รัตนพงษ์. (2558). ผลกระทบของความผูกพันและความพึงพอใจที่มีต่อแนวโน้มการกลับมา เที่ยวซ้ำยังแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิยม เจริญศิริ. (2558). ปัจจัยและกระบวมการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการจัดการ การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ประวัติตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2560, จาก www.thaitambon.com
ปิยะมาศ ไชยเมืองชื่น. (2553). การศึกษาการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่อุทยาน แห่งชาติแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ภัทรชนม์ รัชตะหิรัญ. (2558). ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่มีผลต่อความต้องการของ นักท่องเที่ยวไทยที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยวบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสยาม.
วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ. คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์. มหาวิยาลัยมหิดล
วิรุฬภ์ ทันสมัย. (2559). การตัดสินใจเลือกสถานที่พักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ศรินท์ทิพย์ คาวาโนเบะ. (2554). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา อำเภอเมืองน่าน. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอก การตลาด. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2559). การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวครั้งแรกและนักท่องเที่ยวซ้ำ. วารสารบริหารธุรกิจ. ภาควิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศุภัตรา ฮวบเจริญ. (2560). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย : กรณีศึกษาตลาดน้ำ คลองผดุงกรุงเกษม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 12. ฉบับที่ 2.
สุขุม คงดิษฐ์ และคณะ. (2560). รูปแบบและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวนิเวศเกษตรอย่างมีส่วน ร่วม ของชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม การบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2559). ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2560, จาก www.nakhonpathom.go.th
องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา. “ตลาดน้ำวัดลำพญา.” http://www.lumphaya.com/index.php.
สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2561.
อธิชา อัยยะศิริ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ใน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. งานนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา