คุณภาพชีวิตในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ขวัญชนก ณ ระนอง
ฐนันดร๋ศักดิ์ บวรนันทกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของตำรวจที่ปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้งปัจจัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานดังกล่าว โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตำรวจชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน จำนวน 385 คน ประกอบด้วยตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การทำแบบสอบถาม (Questionnaires) และสถิติที่ใช้ในที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การหาค่าที (t-test แบบ independent sample)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบone-way ANOVA)  โดยผลการวิจัยสรุปผลได้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 80.8 และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 19.2 มีความคิดเห็นว่าตนมีความเสี่ยงภัยในการปฏิบัติหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 66.8 มีค่าตอบแทนพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 79.5 และส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์อันดีภายในหน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 88.6 โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับระดับปานกลาง (=3.490, S.D. = 0.610) และเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ชั้นยศ สถานภาพสมรส และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของปัจจัยด้านเพศ ความเสี่ยงภัย ค่าตอบแทนพิเศษและความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานไม่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Huse, E.and T.Cumming. (1980). Organization Development and Change. New York: West Publishing
Hackman, J.R.,&Suttle,J.L. (1977). Improving Life at work : Behavioral science approach To organizational change. Santa Monica, CA : Goodyear Publishing.
Guest,R.H.(1979). Quality of work life-learning from tarry tow. Massachusetts: Harvard Business Review.
Walton,R.E. (1974). Improving the Quality of working life. Massachusetts: Harvard Business Review.
Lewin, Devid. (1981). Collective Bargaining and the quality of work life in organization dynamics. New York: Pergamon Press.
Maslow. (1970). Maslow’s Theory of Human Motivation. Eastford: Martino Fine Books.
ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน. (2555) สำรวจความสุขของข้าราชการตำรวจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)
ภณิตา กบรัตน์. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน: ศึกษาเฉพาะกรณี กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1. สารนิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก: กรุงเทพฯ.
ณัฐชัย ทองไพจิตร. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกับกับการ 2 สังกัด กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยทองสุข: กรุงเทพฯ.
แพรวนภา ธะนะ (มปพ.) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สารนิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ.
กนกวรรณ ชูชีพ. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ
กาญจนา แดงมาดี. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันราชภัฏนครปฐม.
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้.(2560). ความขัดแย้งชายแดนใต้ในรอบ 13 ปี ความซับซ้อนของสนามความรุนแรงและพลังของบทสนทนาสันติภาพปาตานี. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560, จากเว็บไซต์: https://deepsouthwatch.org/th/node/11053
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2559). หน่วยงานในสังกัด. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2560, จากเว็บไซต์: http://www.royalthaipolice.go.th/agencies_under.php