แนวทางพัฒนาการให้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

สุพัตรา เกียรติเลิศธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง แนวทางพัฒนาการให้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและบุคคลทั่วไป 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการเก็บตัวอย่างจากผู้ใช้บริการจำนวน 120 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการห้องสมุด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 19 – 23 ปี เป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความถี่ของการเข้าใช้บริการห้องสมุดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ช่วงเวลาการเข้าใช้บริการส่วนใหญ่มีช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน และเวลาการใช้บริการอยู่ที่ น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ใน 1) ด้านทรัพยากรห้องสมุด มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ เอกสารงานวิจัย/วารสารวิชาการ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือความรู้ทั่วไปในสาขาต่าง ๆ นิตยสารทั่วไป/หนังสือพิมพ์ ตำราวิชาการ/หนังสืออ่านประกอบ 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีความต้องการอยู่ในระดับมาก เช่น มุมอ่านหนังสือ การให้บริการเครือข่ายไร้สาย (WIFI) ห้องอ่านหนังสือกลุ่ม และเครื่องคอมพิวเตอร์สืบค้นหนังสือ/สืบค้นข้อมูล 3) ด้านการประชาสัมพันธ์ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การมีเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลห้องสมุด เอกสารแนะนำการใช้บริการห้องสมุด การประชาสัมพันธ์ข่าวการให้บริการ การฝึกอบรมและมีกิจกรรมให้ผู้ใช้บริการได้ร่วมสนุกกับห้องสมุด 4) ด้านการบริการ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขั้นตอนการให้บริการเป็นระบบมีความสะดวกรวดเร็ว มีการให้บริการเพิ่มเติมในวันเสาร์และวันอาทิตย์ การจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศบนชั้นถูกต้องง่ายต่อการค้นหา มีระบบการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด บริการสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ 5) ด้านบุคลากรมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดี กระตือรือร้นในการให้บริการ และความรู้ความสามารถในการแนะนำให้ข้อมูล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลธน ธนาพงศธร. (2530). การบริหารงานบุคคล, เอกสารการสอนวิชาชุดวิชา 32304 หน่วยที่ 6-16 สาขาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จิณณพัต ชื่นชมน้อย. (2556). การศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการปรับปรุงคุณภาพของห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
นวพร สุริยะ. (2553). ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดของนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พุทธมนต์ พรนิมิตร. (2547). ความต้องการของอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการใช้ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. สืบค้น จาก http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
รุจิรา เหลืองอุบล, น้ำลิน เทียมแก้ว. (2554). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2554. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรณุกา สันธิ, ประกายมาส มิยะ, & พิศมัย กัลยาวงศ์. (2545). ความพึงพอใจและความต้องการของนักศึกษาในการใช้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วลัยลักษณ์ ผานิชชัย. (2542). การใช้และความต้องการสารนิเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเชียร ขันธหัตถ์. (2536). คุณภาพการบริการลูกค้า. กรุงเทพฯ: บุ๊คแบงก์.
สหไทย ไชยพันธุ์. (2553). การใช้และความต้องการทรัพยากรสารนิเทศในการค้นคว้าเพื่อการศึกษา
ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2 (2), 39-53.
อังกาบ บุญย้อย, นภดล เล็กสวัสดิ์, & ลำปาง แสงจันทร์. (2537). การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่