@article{ธารีเทียน_ลบล้ำเลิศ_2018, title={แนวปฏิบัติที่ดีในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: แนวปฏิบัติที่ดีในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล}, volume={1}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/145983}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาประสบการณ์ในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง ได้แก่ ผู้บริหารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการ กลุ่มที่สอง ได้แก่  บุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 20 คน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น เริ่มต้นจากการศึกษาระเบียบปฏิบัติจากคู่มือแนวปฏิบัติ และสอบถามจากบุคลากรที่มีประสบการณ์การขอตำแหน่งวิชาการมาแล้ว รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในด้านนี้โดยตรง และขั้นตอนต่อไป ผู้ให้ข้อมูลหลักกล่าวว่า คือการตรวจสอบคุณสมบัติ ผลงาน และชั่วโมงการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ต่างๆที่กำหนดไว้</p> <p>ส่วนปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้นเกิดจากปัญหาและอุปสรรคภายในของตัวบุคลากรผู้ขอตำแหน่งเอง นั่นคือ การขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ แนวทางปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งการขาดความพร้อมในการยื่นหลักฐานต่างๆที่จะต้องใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ นอกจากนี้ปัญหาและอุปสรรคอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มบุคลากร คือภาระงานที่มีจำนวนมาก ส่งผลต่อการเตรียมเอกสารหรือการรวบรวมผลงานทางวิชาการได้ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้นยังเกิดจากปัญหาและอุปสรรคภายนอกอีกด้วย นั่นคือระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ส่งผลให้ผู้ที่เตรียมขอตำแหน่งต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดเรียงหรือการรวบรวมผลงานตามไปด้วย และเกิดจากการขาดผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำแนะนำอย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการรายใหม่ ไม่สามารถขอรับคำแนะนำได้อย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งเกิดจากระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการขอตำแหน่งทางวิชาการไม่มีความทันสมัย ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆไม่สะดวก ไม่รวดเร็ว และข้อมูลที่ได้รับไม่มีความถูกต้อง/เที่ยงตรง</p> <p>สำหรับ พัฒนาประสบการณ์ในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ พบว่า บุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขอตำแหน่งทางวิชาการควรให้การสนับสนุนผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการทั้งรายใหม่และรายเก่า โดยเริ่มจากการจัดโครงการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งอาจจะให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการเป็นบุคลากรในการอบรมด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการต่อไป นอกจากนี้ควรมีการจัดทำคู่มือหรือระเบียบการขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม และมีการพัฒนาปรับปรุงให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น รวมทั้งควรพัฒนาระบบสารสนเทศ  เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ และสามารถเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้ขอตำแหน่งรายใหม่ให้มีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล}, author={ธารีเทียน เกศริน and ลบล้ำเลิศ ศศิธร}, year={2018}, month={ก.ย.}, pages={110–124} }