@article{ศรีหนูขำ_ปานเงิน_รักนาม_วัฒนกูล_2018, title={การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของค่ารักษาพยาบาลตาม ระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน: การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของค่ารักษาพยาบาลตาม ระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน}, volume={1}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/145985}, abstractNote={<p>การศึกษาการสรุปคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ที่มีผลต่อการปรับค่านํ้าหนักสัมพัทธ์ (Adjust Relative Weight : AdjRW) และมีผลกระทบต่อค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณของเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มการวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group, DRGs) ที่มีผลต่อ AdjRW นำมาเปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก่อนและหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในและเพื่อเปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก่อนและหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในได้รับจัดสรรตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่จำหน่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556  ถึงเดือนเมษายน 2557</p> <p>ผลการศึกษาการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในจำนวน 1,107 ฉบับ พบว่ามีเวชระเบียนผู้ป่วยในที่มีความคลาดเคลื่อนในการสรุปคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน จำนวน 322 ฉบับ และหลังจากที่  Auditor ทบทวนและแก้ไข เพิ่มเติมคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ให้ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว พบว่ามีความแตกต่างของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่มีผลต่อค่า AdjRW จำนวน 216 ฉบับ โดยทำให้ค่า AdjRW เพิ่มขึ้น 182.84 ซึ่งมีผลทำให้รพ. ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2,420,928.35 บาท</p> <p>ในการศึกษาครั้งนี้มีประเด็นที่เพิ่มเติมพบว่าความคลาดเคลื่อนในส่วนของโรคหลัก โรคร่วม โรคแทรกซ้อน หัตถการ และการผ่าตัด เมื่อ Auditor ทบทวนและแก้ไข เพิ่มเติมให้ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว พบว่าการสรุปคำวินิจฉัยโรคที่แตกต่างกันมีผลต่อการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ส่งผลต่อค่า AdjRW  ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ต้นสังกัดต้องจ่ายคืนให้กับโรงพยาบาลฯ ดังนั้นแพทย์ควรตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจการสรุปคำวินิจฉัยโรค ซึ่งควรมีการตรวจสอบ ทบทวนเวชระเบียน แบบ Real time อย่างต่อเนื่อง โดย Auditor ประจำโรงพยาบาลที่มีความรู้ ความชำนาญ เพื่อช่วยให้การบันทึกและการสรุปคำวินิจฉัยโรค ในเวชระเบียนผู้ป่วยมีความถูกต้องและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล}, author={ศรีหนูขำ ส้มแป้น and ปานเงิน วราภรณ์ and รักนาม ธานี and วัฒนกูล ยุพาพร}, year={2018}, month={ก.ย.}, pages={125–143} }