TY - JOUR AU - ประดับเพชรรัตน์, ภควดี AU - โสกัณฑัต, ณัฏฐาภรณ์ PY - 2018/09/15 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการตัดสินใจหลีกเลี่ยงเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติดของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E ประเทศไทย JF - วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล JA - ISSJ VL - 1 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/145775 SP - 12-29 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการตัดสินใจหลีกเลี่ยงเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติดของนักเรียน และเพื่อศึกษาผลจากการสร้างทักษะการตัดสินใจหลีกเลี่ยงเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ ยาเสพติดของนักเรียน รวมทั้งเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการตัดสินใจหลีกเลี่ยงเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติดของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;(In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 1 และ ภาค 7 การสุ่มตัวอย่างในครั้งนี้เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยคัดเลือกจากครูตำรวจ D.A.R.E. ที่มีประสบการณ์การสอนโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทยที่ผ่านมาจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ห้องเรียน ได้แก่ กลุ่มครูตำรวจ D.A.R.E. จำนวน 5 คน กลุ่มครูประจำชั้นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ปกครองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 5 คน และกลุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน</p><p>ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการตัดสินใจหลีกเลี่ยงเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติดของนักเรียนนั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมดให้ความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการตัดสินใจหลีกเลี่ยงเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติด เนื่องจากโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทยและครูตำรวจ D.A.R.E. ได้ถ่ายทอดให้ทราบถึงโทษของยาเสพติดและวิธีการหลีกเลียงเมื่อถูกชักชวน รวมทั้งได้แนะนำรูปแบบการตัดสินใจแบบ D.A.R.E. 4 รูปแบบ ได้แก่ D (Define ระบุปัญหา) A (Assess ประเมินทางเลือก) R (Respond ตัดสินใจเลือก) E (Evaluate ประเมินผล) ซึ่งนักเรียนได้นำรูปแบบการตัดสินใจแบบ D.A.R.E. ไปใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากการตัดสินใจหลีกเลี่ยงยาเสพติดอีกด้วย</p><p>ส่วนผลจากการสร้างทักษะการตัดสินใจหลีกเลี่ยงเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติดของนักเรียน พบว่านักเรียนที่เคยเข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย จะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและสามารถปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติดได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้และหลักการปฏิเสธยาเสพติดที่ได้รับไปถ่ายทอดและตักเตือนเพื่อนนักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย</p><p>สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการตัดสินใจหลีกเลี่ยงเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติดของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทยนั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเสนอให้มีโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทยเข้ามาจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต่อไป และควรขยายชั้นเรียนโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทยจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้เป็นระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ด้วย รวมทั้งครูผู้สอนโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย ก็ควรจะเป็นครูตำรวจ D.A.R.E. เช่นเดิม</p> ER -