TY - JOUR AU - Amornsiriphong, Somsak PY - 2018/09/18 Y2 - 2024/03/29 TI - บทบรรณาธิการ JF - วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล JA - ISSJ VL - 2 IS - 2 SE - บทบรรณาธิการ DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/146163 SP - 9-10 AB - <p><strong>บทบรรณาธิการ</strong></p><p>วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558) นี้ ประกอบด้วยบทความวิจัยและบทความวิชาการจำนวน 11 เรื่อง เนื้อหาของบทความทั้ง 11 เรื่อง มีความหลากหลายครอบคลุมองค์ความรู้ของศาสตร์ทางด้านสังคมหลายแขนงทั้งรัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม อาชญาวิทยา และการศึกษา ผู้สร้างสรรค์ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรสายสนับสนุน</p><p>บทความหลายเรื่องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ต้องเร่งสร้างเพื่อการสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปลายปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง ศึกษาสมรรถนะหลักของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของกฤษฎา เลิศสถิตไพโรจน์ และอัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ องค์ความรู้ที่ได้จากบทความวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างสมรรถนะหลักของเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยว และบทความวิจัยเรื่องการนำแผนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานครในปี 2558 ไปสู่การปฏิบัติ ของชุติมา ปิงเมือง เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน</p><p>บทความที่เป็นองค์ความรู้ด้านอาชญาวิทยามีหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่องรูปแบบการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ของธันย์ชนก สุขเกษม และบทความเรื่องโปรแกรมออกแบบจำลองเหตุการณ์การตรวจสถานที่เกิดเหตุ กรณีศึกษาคดีระเบิด ของนวพล อรุณฤกษ์ถวิล และพันตำรวจเอก วรธัช วิชชุวาณิชย์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการพัฒนางานขององค์กรตำรวจ &nbsp;&nbsp;&nbsp;</p><p>บทความที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส คุณธรรมและจริยธรรมในเล่มนี้มีอยู่สองเรื่อง ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเกี่ยวกับความโปร่งใสและเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมกรมพัฒนาที่ดินไปปฏิบัติ&nbsp; ของธนเทพ ทองชมพู และบทความเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักและการนำหลักธรรมาภิบาลไปสู่การปฏิบัติขององค์การ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ของสุรเชษฐ &nbsp;ลิ้มเฉลิม ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เป็นองค์ความรู้ที่ต้องเร่งสร้างเพื่อร่วมจิตสำนึกทางสังคมให้เกิดขึ้นโดยเร็ว</p><p>นอกจากนี้ ยังมีบทความที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการบริหารองค์การ ได้แก่ บทความเรื่องความสัมพันธ์ของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันกับองค์การ : กรณีศึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ของรัตนสุคนธ์ สมนึก และยังมีบทความอีกหลายเรื่องที่ให้องค์ความรู้ด้านการศึกษา อาทิ ปัจจัยการตลาด การจัดการศึกษา และความผูกพัน: มุมมองผู้เรียนหรือลูกค้าที่มีต่อหลักสูตรสังคมศาสตร์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ของรุ่งอรุณ สิงคลีประภา และเบญจมาส เจริญสุขพลอยผล และบทความเรื่อง แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ของวันทนีย์ โพธิ์กลาง และอุทุมพร ไวฉลาด ที่สำคัญไปกว่านั้น บทความทั้งสองเรื่องเป็นบทความที่เกิดจากการผลิตสร้างโดยบุคลากรสายสนับสนุนที่สกัดองค์ความรู้จากงานประจำที่ปฏิบัติจริงได้อย่างน่าสนใจ</p><p>บทความภาษาอังกฤษประจำฉบับนี้เป็นเรื่อง Improving Workers’ Rights for Garbage Collectors through Social Force ของ&nbsp; Lect. Dr. Wanaporn Techagaisiyavanit สะท้อนองค์ความรู้ด้านสิทธิแรงงานของกลุ่มแรงงานในอาชีพคนเก็บขยะ</p><p>กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้ร่วมสร้างองค์ความรู้ และขอเชิญชวนนิสิต นักศึกษา นักวิจัย คณาจารย์ ตลอดจนผู้ที่สนใจจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ร่วมเสนอบทความเข้ารับการเผยแพร่สู่สาธารณะกับทางกองบรรณาธิการวารสารในฉบับต่อ ๆ ไป และสุดท้ายนี้ กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านวารสารจะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดจากองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวารสารฉบับนี้ หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใดอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นไปของวารสารนี้ กองบรรณาธิการขอน้อมรับด้วยความยินดีและความขอบคุณยิ่ง</p><p>&nbsp;</p><p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์</p><p>บรรณาธิการ</p> ER -