การสร้างมาตรฐานการให้บริการงานด้านการศึกษาของนักวิชาการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

วิจิตรา เชาวนะสุนทร

บทคัดย่อ

การสร้างมาตรฐานการให้บริการงานด้านการศึกษาของนักวิชาการศึกษาจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อสนองต่อการพัฒนาการให้บริการงานด้านการศึกษาของส่วนงานอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดมาตรฐานตำแหน่งของนักวิชาการศึกษาถือเป็นเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ การยึดถือเอามาตรฐานตำแหน่งมาใช้ในการปฏิบัติงานจะเป็นการสร้างกรอบมาตรฐานการให้บริการงานด้านการศึกษาที่มีมาตรฐานอันจะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาควรที่จะขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าในสายงาน และเป็นการสร้างความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงานของตนเองด้วย ในขณะเดียวกัน การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาจะเป็นตัวชี้วัดการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษา และนักวิชาการศึกษาควรจะนำเอาผลการประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการงานด้านการศึกษาของนักวิชาการศึกษามาปรับปรุง และพัฒนาการให้บริการงานด้านการศึกษาเพื่อเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ สมรรถนะเฉพาะตำแหน่งของนักวิชาการศึกษาจะมีการกำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรม (Behavior Indicators) เพื่อเป็นการกำหนดพฤติกรรมในการให้บริการงานด้านการศึกษา โดยการกำหนดสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งของนักวิชาการศึกษาจะบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษาซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานการให้บริการงานด้านการศึกษาเช่นกัน ดังนั้น การกำหนดมาตรฐานการให้บริการงานด้านการศึกษาของนักวิชาการศึกษาจะต้องคำนึงถึง 3 ประการ ได้แก่ 1) มาตรฐานตำแหน่งนักวิชาการศึกษา 2) ความพึงพอใจต่อการให้บริการงานด้านการศึกษาของนักวิชาการศึกษา และ 3) สมรรถนะเฉพาะในสายอาชีพ (Functional Competency) ของนักวิชาการศึกษา อันจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อสนองต่อการพัฒนาการให้บริการงานด้านการศึกษาของส่วนงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป มาตรฐานการให้บริการงานด้านการศึกษาดังกล่าวนี้จะเป็นการสนับสนุนมาตรฐานการให้บริการและเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้สามารถตอบสนองการพัฒนาประเทศได้ อีกทั้งจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยมหิดลก้าวไปสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยระดับโลกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กองทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). เอกสารแนวทางการดำเนินประเมินผลการปฏิบัติงาน. กองทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่13 มิถุนายน 2557 จาก http://www.qd.mahidol.ac.th/ext/document/edpex_en.pdf
งานบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). เอกสารการผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2555. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นวพร อัมพวา. (2557). คู่มือ การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า (PA) และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บังอร รัตนมณี และกันยา เจริญศักดิ์. (2553). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่องาน บริการการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2553.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบสมรรถนะเพื่อพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2557 จาก http://competency.rmutp.ac.
วาสนา แสนโภคทรพัย. (2553). ความพึงพอใจของนิสิตต่อบริการของหน่วยทะเบียนและประเมินผล คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ข่าวสารห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2553.
ศิรินารถ สายอ๋อง. (2552). ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษาต่อการให้บริการการศึกษาของโครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). มาตรฐานตำแหน่งนักวิชาการศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่13 มิถุนายน 2557 จาก
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=article&id

ภาษาอังกฤษ
Baroudi and Olson. (1988). An empirical study of the impact of user involvement on system usage and information satisfaction. Communications of the ACM 29(3): 232- 238.
lgbaria and Nachma (1990). Correlationof user satisfaction with end user computing. Information and management 19(2): 73-82.
Parasuraman, A., V. A. Zeithnel and L. Barry. (1985). “A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research”. Journal of Marketing., Vol. 50 (February 1985): 79-81.