แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

วันทนีย์ โพธิ์กลาง
อุทุมพร ไวฉลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระดับแรงจูงใจและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ต่อปัจจัยทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านคุณภาพและชื่อเสียงของสถาบัน ด้านสภาพแวดล้อมของสถาบัน ด้านหลักสูตร ด้านการประกอบอาชีพ และด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2557 จำนวน 53 คน  ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 45 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน  ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.18 ± 0.50   โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านคุณภาพและชื่อเสียงของสถาบัน ค่าเฉลี่ย = 4.44 ± 0.46  รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อมของสถาบัน ค่าเฉลี่ย = 4.28 ± 0.46   ด้านการประกอบอาชีพ ค่าเฉลี่ย = 4.15 ± 0.50  ด้านหลักสูตร ค่าเฉลี่ย = 4.07 ± 0.51  และด้านเศรษฐกิจและสังคม ค่าเฉลี่ย = 3.96 ± 0.58 ตามลำดับ  และนักศึกษามีแรงจูงใจไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล  ยกเว้นด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่เพศหญิงมีแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษามากกว่าเพศชาย  และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมปลายมาจากโรงเรียนรัฐบาลมีแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาในด้านคุณภาพและชื่อเสียงของสถาบันมากกว่านักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมปลายมาจากโรงเรียนเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์ กนิษฐา คูณมี และศุภชัย จันทร์งาม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 6 ; 30 – 31 พฤษภาคม 2557. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม. 1-8.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553. 10 มีนาคม 2557. https://www.mwit.ac.th/~person/01-Statutes/NationalEducation.pdf
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2549). รายงานประจำปี 2549. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
จิตติมา พัดโบก. (2553). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยนเรศวร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตจังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐพล พงศ์พฤติ. (2556). ความคิดเห็นของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา สาขาวิชาดนตรีไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดลฤดี สุวรรณคีรี. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ. วารสารพัฒนาสังคม 9,(1) : 157 – 174.
ตวงกมล ทรัพย์แสงส่ง. (2552). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิศมัย เพียรเจริญ. (2554). ศึกษาลักษณะของนักศึกษาและเหตุผลที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการ. 22(1) :117-127.
โพยม เพียรลํ้าเลิศ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภาณุวัฒน์ สว่างแสง และนุชวนา เหลืองอังกูร. (2555) แรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบรับตรง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2554. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 9(1) : 172 – 178.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกปี 2014 โดย QS (Quacquarelli Symonds), 27 ตุลาคม 2557. http://www.mahidol.ac.th/th/latest_news57/Press_QS2014.html
รัศมี ทองเกิด. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มอีสานใต้. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลาวัลย์ เบญจศีล. (2547). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2547. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สิริรัตน์ เทียมเสรีวงศ์. (2556). แรงจูงใจที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิจัยการบริหารสถาบัน. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ออนไลน์). 27 ตุลาคม 57. เข้าถึงจาก http://th.wikipedia.org
อัมพร ณ สงขลา. (2539). เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อารี เมธีธรรมวัฒน์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เอนก ชิตเกษร. (2542). มูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ. รายงานการวิจัย. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ.