ความพึงพอใจของบุคลากรภายในหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อบรรยากาศการทำงาน

Main Article Content

สวรรค์ชิด สุภาพวงษ์สกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรภายในหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อบรรยากาศการทำงาน โดยการเก็บข้อมูลจากบุคลากร  ในปี 2560 (ระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2560) ประกอบด้วยหน่วยงานที่มีสถานที่อยู่ภายในอาคารสารนิเทศ 50 ปี จำนวน 8 หน่วยงาน และหน่วยงานที่มีสถานที่อยู่ภายนอกอาคารสารนิเทศ 50 ปี จำนวน 6 หน่วยงาน รวม 14 หน่วยงาน โดยใช้แนวคิดของทฤษฎีสองปัจจัยของ เฮอร์เบิร์กซ์ Herzberg เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการทำงาน และแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศองค์กรมารวบรวมเป็นคำถาม  นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอเป็นตาราง ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ความถี่ และวัดระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ ตามมาตรวัดของ    ลิเคิร์ท  (Likert Scale) 


ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของบุคลากรภายในหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อบรรยากาศการทำงานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.45)  มีผู้ตอบแบบสอบถาม 903 คน จากทั้งหมด 1,099 คน   คิดเป็นร้อยละ 82.17  ด้านเพื่อนร่วมงานสนับสนุนการทำงานและมีส่วนช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการทำงาน  มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.67 และด้านมีที่พักผ่อน และภูมิทัศน์ในที่ทำงานอย่างเหมาะสม ตามสภาพของพื้นที่  มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 3.08  สำหรับความพึงพอใจของหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีต่อบรรยากาศการทำงาน   สถานพยาบาล มก. มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ  4.10  และกองการเจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 2.81   เมื่อพิจารณาหน่วยงานที่มีสถานที่อยู่ภายในอาคารสารนิเทศ 50 ปี พบว่าด้านเพื่อนร่วมงานสนับสนุนการทำงาน และมีส่วนช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.71 และด้านมีที่พักผ่อนและภูมิทัศน์ในที่ทำงานอย่างเหมาะสม ตามสภาพของพื้นที่  มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 2.81 และหน่วยงานที่มีสถานที่อยู่ภายนอกอาคารสารนิเทศ 50 ปี พบว่าด้านแสงสว่างในห้องทำงานเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.74 และด้านจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพใกล้สถานที่ทำงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 3.35 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อย ได้แก่ ด้านมีที่พักผ่อน และภูมิทัศน์ในที่ทำงานอย่างเหมาะสม ตามสภาพของพื้นที่   ด้านจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพใกล้สถานที่ทำงาน และด้านห้องน้ำสะอาด ตามลำดับ จึงเสนอแนะให้เพิ่มพื้นที่พักผ่อนและปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เหมาะสม เพิ่มจุดจำหน่ายอาหารใกล้สถานที่ที่ทำงานและดูแลด้านความสะอาดของห้องน้ำให้เหมาะสมกับความต้องการของบุคลากรต่อไป และควรทำการศึกษาความต้องการของบุคลากรภายในหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อบรรยากาศการทำงาน เพื่อนำผลการศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญกมล สาระบุตร. 2543. คุณภาพชีวิตในการทำงาน. ปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ. วารสาร
นักบริหาร 4(4), 37-40
จินดา ซื่อตรง. 2540. การจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฎิบัติงาน. เอกสารเสนอต่อคณะกรรมการ
ส่งเสริมงานวิจัย. สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชญานุช ลักษณวิจารย์. 2541. ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อผู้นำกับบรรยากาศองค์การ. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชมัยภรณ์ ถนอมศรีเดชชัย. 2539. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบรรยากาศองค์การของกรมส่งเสริมการเกษตร.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัชชา ศุขวัฒน์. 2547. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การและการลาออกของพนักงาน บริษัทเอกชน ใน
เขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. 2540. พฤติกรรมขององค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
ไทยวัฒนาพานิช.
ธัญญา ผลอนันต์. 2547. การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล: แนวทางสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน.
กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์ จำกัด.
นงลักษณ์ นิ่มปี. 2547. บรรยากาศองค์การกับความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิธิ ปิยะพันธุ์, ทองฟู ศิริวงศ์ และพิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์. 2560. ความพีงพอใจในการทำงานและบรรยากาศ
องค์การที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจ. กองบัญชาการตำรวจ นครบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ , 9(2) , 153-161
พนัส หันนาคินทร์. 2542. ประสบการณ์ในการบริหารบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พสุ เดชะรินทร์. จุฬาวิทยานุกรม. บรรยากาศในองค์กร. (ออนไลน์) (เข้าถึงเมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม 2556)
เข้าถึงได้จาก htpp://www. Chulapedia. Chula.ac.th.
ภัครัตน์ เชื้อนเคนทร์. 2552. บรรยากาศการทำงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์
ตามความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2558. ความพีงพอใจและแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2558. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
รวิภา วงศ์บุศยรัตน์ และคณะ. 2556. ความพึงพอใจของบุคลากร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ ต่อสภาพแวดล้อม สภาพการทำงาน สวัสดิการ การบริหารและการจัดการ ปี
การศึกษา 2555. งานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราชบัณฑิตสถาน 2542. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
ศิริวรรณ ชื่นบุญ. 2553. อิทธิพลของบรรยากาศองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรม
การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรในสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2550. การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
สมยศ นาวีการ. 2539. ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สมยศ นาวีการ. 2533. การบริหารเพื่อความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : บรรณกิจ.
สมิต สัชฌุกร. 2543. การต้อนรับและการบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สายธาร.
อรุณ รักธรรม. 2534. การพัฒนาองค์การ ในเอกสารการสอบชุดวิชาองค์การและการจัดการ.
นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Gilmer. B. V. 1971. Industrial Psychology. New York: McGraw-Hill Book Company.
Herzberg, Frederick k. 1967. The Motivation to Work. New York: Jon Welly.
Herzberg. 1979. Mangement of Organization. Boston: Houghton Miffiln Company.
Kotler, P. 2003. Marketing Management. (11th ed). New Jersey: Prentice Hall International. Inc.