เส้นทาง “ประชาสวัสดิการ” สู่การจัดตั้ง “องค์กรการเงินชุมชนประเทศไทย” อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

Main Article Content

สุดารัตน์ โยธาบริบาล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดประชาสวัสดิการในการจัดตั้งองค์กรการเงินชุมชน 2.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์กรการเงินชุมชนในกรณีของธนาคารเพื่อชุมชน / กลุ่มออมทรัพย์ 3.เพื่อเสนอตัวแบบแนวทางการสร้างองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน ข้อสรุปแนวคิดประชาสวัสดิการหรือรูปแบบสวัสดิการภาคประชาชนได้สร้างกรอบสวัสดิการโดยคนในชุมชนเพื่อคนในชุมชนเอง การจัดตั้งองค์กรการเงินชุมชนจึงเป็นองค์กรตาข่ายนิรภัยที่รองรับให้ความช่วยเหลือครอบคลุมทั้งผู้ด้อยโอกาส คนจนและไร้ที่พึ่งในสังคมในการสู่ระบบการจัดสวัสดิการของรัฐได้และไม่ต้องพึ่งพาและรอความช่วยเหลือจากองค์กรภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว โดยมีความครอบคลุมสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย ในกรณีขององค์กรการเงินชุมชน : การจัดตั้งธนาคารเพื่อชุมชน / กลุ่มออมทรัพย์ แม้ไม่ใช่องค์กรของรัฐและไม่ใช่องค์กรที่เป็นทางการ แต่ได้ใช้วัฒนธรรมชุมชนและความสัมพันธ์ชุมชนในการดำเนินงาน แม้ว่าองค์กรการเงินชุมชนจะเป็นทางสว่างแต่การรักษาให้คงอยู่อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนยากยิ่งกว่า ผู้เขียนจึงได้นำเสนอแนวทางสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนสำหรับองค์กรการเงินชุมชนขึ้นมา 5 ประการสำคัญ ที่ควรพัฒนาและดำเนินการ ได้แก่ 1.พัฒนาความเข้มแข็งจากฐานราก(bottom up)เชื่อมต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.การวางแผนชุมชนและการทำงานเป็นเครือข่ายช่วยเหลือและจัดสรรทรัพยากร 3. การยึดมั่นในอุดมการณ์ความคิดของสมาชิก 4.ใช้วัฒนธรรมชุมชนร้อยรัดสมาชิก 5. ถือมั่นใช้กฎหมายในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรชุมชนการเงิน ตามพรบ.สภาองค์กรชุมชน 2551 และตัวแบบสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนขององค์กรชุมชนทางการเงินในแต่ละองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันและส่งผลเกี่ยวเนื่องกันอย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิดประชาสวัสดิการหรือรูปแบบสวัสดิการภาคประชาชน


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิติพัฒน นนทปัทมดุลย์ .(2550).รัฐสวัสดิการเครื่องมือสร้างความเป็นธรรมในสังคม.เอกสารประกอบการ
เสวนาทางวิชาการ วันที่ 20 ธันวาคม 2550 ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะทำงานสุขภาพคนไทย.(2554).ศักยภาพชุมชน.ม.ป.ท.
จันทนา เจริญวิริยะภาพและคณะ.(2546).เครือข่ายกองทุนหมุนเวียนชาวบ้านสงขลา รูปธรรมการใช้เงินเป็นเครื่องมือสร้างสวัสดิการชุมชน.กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
ชินชัย ชี้เจริญ .(มปป.).การจัดสวัสดิการชุมชน: สวัสดิการทางเลือกในสังคมไทย.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ .(2550). สวัสดิการพื้นฐาน (Social Safety Net): รากฐานความเป็นธรรมทางรายได้.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ณรงค์ บุญสวยขวัญ .(2552).การเมืองภาคพลเมือง บทวิเคราะห์แนวคิดและปฏิบัติการท้าทายอำนาจการเมืองในระบบตัวแทน.กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสันเพรสโปรดักชั่น.
บุญนาค ตีวกุล.(2544). ชนบทไทย: การพัฒนาสู่ประชาสังคม. ม.ป.ท.
ปัทมาวดี ซูซูกิ และ สุกานดา ลูวิส.(2552).Microfinance และการเงินชุมชน.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ openbooks.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา.(2552).รายงานผลการวิจัยสถาบันการเงินในระดับจุลภาค: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบังคลาเทศ มองโกเลีย และไทย.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนองค์กรมหาชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2548). ทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทพเพ็ญวานิสย์.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ .(2550). สภาองค์กรชุมชน รวมพลังสร้างความเข้มแข็งของชุมชน.เอกสารประกอบงานมหกรรมวิถีพลังไท2.
สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม.(2555). การจัดการการเงินชุมชน กรณีเครือข่ายสัจจะออมทรัพย์จังหวัดสงขลา.ชุดบทเรียนจากชุมชนลำดับที่ 14.ม.ป.ท.
พรรณทิพย์ เพชรมาก.(2545).สวัสดิการชุมชนพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
พระสุบิน ปณีโต .(2541). สัจจะสะสมทรัพย์: สะสมทุนสังคม.กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์.(2549). การสร้างพลังชุมชน โดยขบวนการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพฯ: บริษัทเลิฟแอนด์ลิฟท์เพรส จำกัด.
พูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธุ์ .(2548). องค์กรการเงินชุมชน: วินัยและการจัดการ.กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ไทย ออฟเชต.
ยูนุส มูฮัมมัส .(1940). แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล (2551).นายธนาคารเพื่อคนจน.กรุงเทพฯ: มติชน.
รังสรรค์ ปิติปัญญา.(2543).แนวทางการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนและเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน.วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 7 (2) กค.-ธค.,148-160.
วลัยพร ประทีปจรัส.(2552). การศึกษาผลการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนแก้ว หมู่ที่สอง ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่.รายงานคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิชุลดา มาตันบุญ และ สมนึก ชัชวาลย์ .(2549).องค์ความรู้เกี่ยวกับกองทุนชุมชน.เชียงใหม่ : วนิดาเพรส.
อภิญญา เวชยชัย และ ศิริพร ยอดกมลศาสตร์.(2550).สวัสดิการสังคมฉบับชาวบ้าน แนวคิด นโยบาย แนวทางปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสันเพรสโปรดักชั่น.
Douglas P. Biklen.(1983).Community Organizing Theory and Practice. New Jersey: Prentice-Hall Inc. Englewood Cliffs.
Giddens Anthony.(2012).The Third Way and its Critics . Cambridge : Polity Press.
Robert Perlman and Arnold Gurin .(1972).Community Organization and Social Planning. New York: Jonh Wiley & Sons.