ปัจจัยการตลาด การจัดการศึกษา และความผูกพัน: มุมมองผู้เรียนหรือลูกค้า ที่มีต่อหลักสูตรสังคมศาสตร์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

รุ่งอรุณ สิงคลีประภา
เบญจมาส เจริญสุขพลอยผล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาด การจัดการศึกษา และความผูกพันในมุมมองของผู้เรียนหรือลูกค้าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่มีต่อหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลช่วงปีการศึกษา 2557 จากประชากรทั้งหมดที่เป็นผู้เรียนของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จาก 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้เรียนในอดีตที่สำเร็จการศึกษาย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2554-2556)  2) ผู้เรียนปัจจุบันชั้นปีที่ 1-3 (รหัสปี 2555-2557)  และ 3) ผู้เรียนหรือลูกค้าอนาคตที่คาดหวัง เป็นนักศึกษาหลักสูตรอื่นชั้นปีที่ 1 รวมทั้งสิ้น 12 หลักสูตร จำนวน 276 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามขณะที่นักศึกษามาเรียน และส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทางอีเมล์ถึงผู้เรียนในอดีตที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับแบบสอบถามคืนมาจำนวน 236 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85 ของประชากรทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


               ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยการตลาด ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของหลักสูตร พบว่า ผู้เรียนหรือลูกค้าอนาคต มีความเห็นด้วยระดับมากสูงสุด ได้แก่  1) ความมีชื่อเสียงมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในและต่างประเทศ  2) ค่าธรรมเนียมและหน่วยกิตไม่แพงเมื่อเทียบกับสถาบันการศึกษาอื่น  3) มหาวิทยาลัยมีหอประชุมห้องเรียนที่เหมาะสมเพียงพอ สะอาด และทันสมัย  4) มีการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ติดต่อสื่อสาร  5) อาจารย์ผู้สอนมีความรู้มีคุณธรรมและจริยธรรมเหมาะสมกับวิชาชีพ  6) สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในมหาวิทยาลัยมีความเหมาะสมต่อการศึกษา  และ 7) การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร          เต็มใจให้ข้อมูลและประสานงานอย่างรวดเร็ว  2. ปัจจัยการจัดการศึกษาของหลักสูตร พบว่า ผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน มีความเห็นด้วยระดับมากสูงสุด ได้แก่  1) มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในสังคมทั้งในและต่างประเทศ  2) ผู้เรียนได้ประสบการณ์และความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยเพื่อตอบปัญหาทางสังคมสุขภาพ  3) มีการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่เพื่อสร้างจิตสำนึกวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนมีการแนะแนวการเรียนให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา  4) มีการสัมมนานักศึกษาเพื่อติดตามความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์  5) ให้อิสระในการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาหลักเพื่อความเหมาะสม และ 6) มหาวิทยาลัยร่มรื่นเป็นระเบียบมีการรักษาความปลอดภัย  3. ปัจจัยความผูกพัน พบว่า ผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน มีความผูกพันสูงระดับมากที่สุด ได้แก่ 1) รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทั้งยินดีใน             อัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่ว่าให้ ‘มุ่งผลเพื่อผู้อื่น’  2) รู้สึกดีใจและภูมิใจได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ในหลักสูตร  และ 3) รู้สึกพอใจได้พูดคุยและมีมิตรภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้    


               สมการพยากรณ์ปัจจัยการจัดการศึกษาหลักสูตร ได้แก่ ทัศนคติต่อสถาบัน และความสัมพันธ์มิติทางสังคม ส่งผลทางบวกต่อความผูกพันของผู้เรียนที่เป็นลูกค้าอดีตและปัจจุบัน ทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกันอธิบายความผูกพันของผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 และอธิบายความแปรปรวนได้ 51.1%                     โดยตัวแปรความสัมพันธ์มิติทางสังคมมีอิทธิพลมากที่สุด  รองลงมาคือ ทัศนคติต่อสถาบัน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. (2557). กลยุทธ์ CRM ในการรักษาลูกค้าปัจจุบัน…หาลูกค้าใหม่…ดึงลูกค้าเก่า. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2557, จาก http://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_ content/60/Customer1.doc.
กิตติภณ กิตยานุรักษ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสุตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (รายงานวิจัย). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ขนิษฐา เพิ่มชัย. (2550). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทไทย เคเค อุตสาหกรรม จำกัด. การศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ.2552-2553. สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
__________. (2552). แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, น.1-25.
__________. (2556). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ.2556-2557. (ฉบับร่าง). สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ.
ชมัยพร วิเศษมงคล. (2557). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2557, จาก http:// swhappinessss.blogspot.com/2010/08/customer-relation-management-crm.html.
ณิชชาพัชญ์ จินตนา. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานรายวัน กรณีศึกษา : บริษัททวินส์ สเปเชียล จำกัด. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ดลฤดี เพชรขว้าง และนันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
บุญชัย โกศลธนากุล. (2557). สุดยอดกลยุทธ์ด้านการตลาดของ Philip Kotler. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2557, จาก http://www.drboonchai.com/index.php?option=content&task=view&id= 202&Itemid.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). สถิติจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา. ค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2557, จาก http://10.2.3.7/mis/Statistic/Page_TH/Stat_menu.aspx.
ปัทพร สุคนธมาน. (2556). การเปิดเสรีด้านการศึกษาในระดับภูมิภาคอาเซียน. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.thai-aec.com/697#more-697.
ปุณณภา ชาญด้วยกิจ. (2554). การศึกษาปัญหากลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มผลประกอบการในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน กรณีศึกษาแผนกโรคหัวใจโรงพยาบาล AA. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). แผนยุทธศาสตร์ ม.มหิดล 2556-2559. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2558, จาก http://intranet.mahidol/announcement/Information/plan2556-2559.pdf.
ยุทธนา ธรรมเจริญ. (2557). การบริหารองค์กรด้วยแนวคิดการตลาด, การรักษาลูกค้าและการตลาดสัมพันธภาพ. บทเรียนออนไลน์. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2557, จาก http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/ Unit1/MENUUNIT1.htm.
วราภรณ์ เชื้ออินทร์. (2555). แนวคิดการจัดการการศึกษาหลังปริญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(1), หน้า 77-93.
วรินรำไพ รุ่งเรืองจิตต์. (2556). มุมมองทางการตลาดด้านบริการ. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2557, จาก http://warinrampaidba4.blogspot.com/2013/03/7ps-vs-7cs.html.
วีรพล สวรรค์พิทักษ์. (2557). การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management). เอกสารเผยแพร่. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2557, จาก http://th.aectourismthai.com/images/blog/ aecnews/file_20130625171556.pdf.
ศิริกานดา แหยมคง. (2555) ปัจจัยเหตุและผลของความสามารถการจัดการลูกค้าเชิงสัมพันธภาพของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การจัดการดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุกัญญา เอียดขาว. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นที่โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระของหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมฤดี ศรีจรรยา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับมหาบัณฑิตหลักสูตร MBA. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 4(มกราคม-ธันวาคม), น.1-21.
สมศีล ณานวังศะ ราชบัณฑิต. (2551). ปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.mahidol.ac.th/th/wisdom_of_the_Land.htm.
อภิวดี วีระสมวงศ์. (2553). ความผูกพันของนักศึกษาระดับปริญญาโทที่มีต่อสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนของมหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุดม คชินทร. (2557). มหาวิทยาลัยมหิดล “ปัญญาของแผ่นดิน”. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558, จากhttp://www.mahidol.ac.th/th/welcome_mu.htm.