การวิเคราะห์ความต้องการและออกแบบเกมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อตั้งรับภัยพิบัติสึนามิด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ

Main Article Content

ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของผู้ใช้ที่มีต่อการสร้างเกมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อตั้งรับภัยพิบัติสึนามิ และ 2) ออกแบบเกมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อตั้งรับภัยพิบัติสึนามิ  การวิจัยนี้อาศัยหลักการเรียนรู้เชิงหรรษา (edutainment) ตัวแบบการเรียนรู้แบบค้นพบ (discovery learning model) และการพัฒนาซอฟต์แวร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment : QFD) ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปออกแบบ 


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้ต้องการเกมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อตั้งรับภัยพิบัติสึนามิ 6 ด้านตามลำดับดังนี้ (1) เกมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (2) เกมที่มีการสังเคราะห์เนื้อหา (3) เกมจำลองสถานการณ์ (4) ไฟล์เกมมีขนาดเล็ก (5) เกมที่เล่นบนแท็บเล็ตและ (6) เกมที่ใช้สถาปัตยกรรมแอนดรอยด์ และ 2) การออกแบบเกมตรงตามความต้องการของผู้ใช้ทั้ง 6 ด้านดังกล่าวข้างต้น และเพิ่มเติมประเด็น 3 ด้าน ดังนี้ (1) ตัวละครภายในเกมเป็นเด็ก (2) เกมที่มีการสะสมสิ่งของกและ (3) เกมที่มีการออกแบบหน้าจอหนีภัยพิบัติสึนามิ งานวิจัยในขั้นต่อไป คือ การเขียนซอฟต์แวร์เกม และการประเมินการยอมรับของผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ชัยยศ ตั้งจิตรดำรงรัตน์.(2553).ความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัด สมุทรปราการ.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอบแก่น.
[2] กรมทรัพยากรธรณี, (2548) คู่มือธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์ “ สึนามิ ” จากแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์. กรุงเทพมหานคร : เอฟเอส พีเพลส.
[3] กระทรวงศึกษาธิการ. (2548ข). การบริหารจัดการภัยพิบัติ : คู่มือประสบการณ์เด็กไทย. กรุงเทพมหานคร: เอฟเอส พี เน็ท เวิร์ค.
[4] ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ. (2558). รายงานการเกิดแผ่นดินไหวและข่าวภัยพิบัติต่าง ๆ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2557. จาก http://www.ndwc.go.th/web/index.php
[5] กรมอนามัยกกระทรวงสาธารณสุข.(2555).จะท่วมอีกกี่ครั้งยังรับได้(ไหว).กรุงเทพฯ:กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
[6] กระทรวงศึกษาธิการ.ก (2548ก). การบริหารจัดการภัยพิบัติ : คู่มือครู. กรุงเทพมหานคร : เอฟ เอสกพีกเน็ท เวิร์ค.
[7] พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล.(2554).ภัยพิบัติ:มหาอุทกภัยของประเทศ พ.ศ.2554. วารสารสาธารณสุขศาสตร์.ปีที่ 41(3): 205, กันยายน-ธันวาคม 2554.
[8] Akao, Y., ed. (1990). Quality Function Deployment, Productivity Press, Cambridge MA. BeckerAssociatesInc, http://www.becker-associates.com/thehouse.HTMand
[9] Mizuno, S. and Y. Akao,ed (1994). QFD : The Customer-Driven Approach to Quality Planning and Development, Asian Productivity Organization, Tokyo, Japan,
available from Quality Resources, One Water Street, White Plains NY
[10] นภิสพร มีมงคล พีรยุ จันทร์ส่อง และวรรณรัช สันติอมรทัต. (2555). “การประยุกต์ใช้ QFD เพื่อค้นหาคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ สำหรับการออกแบบอุปกรณ์เฝ้าระวังผู้ป่วย”วารสารวิจัย มข. ปีที่
17(4) :515-527, กรกฎาคม-สิงหาคม 2555.