ซอฟต์แวร์ประเมินความเสี่ยงจากอุบัติการณ์โรงพยาบาลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

อัสนีวัลย์ อินทร์ขำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาซอฟต์แวร์ประเมินความเสี่ยงของโรงพยาบาลชะอำ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ตามหลักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่มีประสิทธิภาพ และ 2) ศึกษาการยอมรับซอฟต์แวร์ประเมิน
ความเสี่ยงของโรงพยาบาลชะอำ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ซอฟต์แวร์ประเมินความเสี่ยงของโรงพยาบาลชะอำ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ประเมินความเสี่ยง โรงพยาบาลชะอำ และ 3) แบบประเมินการยอมรับซอฟต์แวร์ประเมินความเสี่ยง โรงพยาบาลชะอำ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ซอฟต์แวร์ประเมินความเสี่ยง โรงพยาบาลชะอำ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีที่มี
การแสดงสัญลักษณ์แถบสีแจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติการณ์ในแต่ละระดับ เพื่อให้องค์กรเตรียมหามาตรการป้องกันได้
ทันต่อสถานการณ์งานวิจัยในขั้นต่อไป คือ การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจงานมาตรการป้องกันเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพงานบริหารความเสี่ยงได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว 2) ประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การยอมรับซอฟต์แวร์โดยผู้ใช้งานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลศรีเมืองใหม่.(2557).คู่มือการบริหารความเสี่ยง. โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี.
[2] กนกวรรณ ศรีรักษา.(2557).โปรแกรมระบบบริหารความเสี่ยง โรงพยาบาลขอนแก่น.สารสนเทศงานบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โรงพยาบาลขอนแก่น.
[3] สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2557). เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตรระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลคุณภาพ (HA 601).
[4] บรรจง หะรังษี. (2554). ทำความรู้จักกับคำจำกัดความที่สำคัญเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง. เข้าถึงได้จาก :
http://www.tnetsecurity.com. (วันที่ค้นหาข้อมูล : 2 พฤศจิกายน 2557).
[5] วราวุธ ยอดจันทร์. (2556). การบริหารเสี่ยง.เข้าถึงได้จาก : www.pnru.ac.th/offi/mplan. (วันที่ค้นหาข้อมูล : 10 พฤศจิกายน 2557).