การพัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายใกล้ตัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ชิญนารถ ขยายวงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง กฎหมายใกล้ตัว 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนแสวงรู้บนเว็บตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์  3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนและ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนแสวงรู้บนเว็บ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดงบัง (พิกุลศึกษาคาร) จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ แบบประเมินคุณภาพบทเรียนแสวงรู้บนเว็บแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน


           ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแสวงรู้บนเว็บที่ยกระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีลักษณะเป็นขั้นตอน และเพิ่มกิจกรรมที่ฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดในขั้นภาระงานและขั้นกระบวนการ มีผลการประเมินคุณภาพบทเรียนแสวงรู้บนเว็บโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) บทเรียนแสวงรู้บนเว็บมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์ มีค่าเท่ากับ 1.44 3) นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” วารสารนักบริหาร. ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) : 49-56.
[2] ตะวัน เทวอักษร และคณะ. (2556). “ทักษะการคิดพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการศึกษาไทย” การพัฒนาทักษะการคิด. ปีที่ 5 ฉบับที่ 13 (พฤษภาคม) : 4.
[3] สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือ การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ สาม (2554-2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา. แก้ไข
เพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
[4] มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). เทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[5] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
ประสานมิตร.
[6] อารีย์ วาสุเทพ. (2549). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
[7] ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาสารคาม : ตักศิลาการพิมพ์.
[8] โสภา โคตรสมบัติ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิจารณญาณรายวิชาคอมพิวเตอร์ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บกับบทเรียนบนเครือ
ข่ายแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศม.มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[9] ทวีวรรณ์ ฉลาดเอื้อ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง การสำรวจดวงจันทร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.นครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
[10] นิลรำไพ ภัทรนนท์. (2553). “การพัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปี่ที่
12 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 95-110.