การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยเอ็มเลิร์นนิ่ง วิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ด้วยโปรแกรมประยุกต์ลักษณะฟอร์ม

Main Article Content

วงษ์ปัญญา นวนแก้ว
ชเนตตี พิมพ์สวรรค์
จรัญ เจิมแหล่

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเอ็มเลิร์นนิ่ง วิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ด้วยโปรแกรมประยุกต์ในลักษณะฟอร์ม  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 โดยเอ็มเลิร์นนิ่ง ด้วยโปรแกรมประยุกต์ในลักษณะฟอร์ม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เอ็มเลิร์นนิ่ง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนรายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


    ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 55.88 และการทดสอบหลังเรียนมีนักศึกษาผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 88.23  และ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เอ็มเลิร์นนิ่ง โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สถิติผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือประเทศไทยปี 2556. (2556). ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2557. สืบค้นจาก http://www.veedvil.com/news/thailand-mobile-in-review-2013.
[2] ยอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือประเทศไทย. (2557). ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2557. สืบค้นจาก
http://www.marketingoops.com/reports/metrix/daat-mobile-thailand-numbers.
[3] พงศ์ศิริ ธรรมวุฒิ. (2558). การพัฒนาบทเรียนโมบายเลิร์นนิ่งวิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.
[4] ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์. (2556). การศึกษาสภาพแวดล้อมความต้องการการใช้งานการเรียนผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Learning) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. คณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ .
[5] ธงชัย แก้วกิริยา. (2553). บทที่ 5 E-Learning ก้าวไปสู่ M-Learning ในยุคสังคมของการสื่อสารไร้พรมแดน. วารสารร่มพฤกษ์. ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2552 - มกราคม 2553 : สืบค้น
จาก http://romphruekj.krirk.ac.th/books/2553/1/5.pdf. น.112–136.
[6] มัณฑนา คงเอียด. (2551). การศึกษาสภาพความต้องการใช้งานและรูปแบบการเรียนผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (m-Learning) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัย
ศิลปากร สำนักหอสมุดกลาง. นครปฐม.
[7] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.