การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาว โดยใช้เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ ของกลุ่มเกษตรกรตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ธนาพัฒน์ เที่ยงภักดิ์

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเรื่องการปลูกมะนาวของกลุ่มเกษตรกรตำบลท่าสองคอน  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาวโดยใช้เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาวโดยใช้เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ 4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรกรที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาว และ 
5) ถอดชุดองค์ความรู้เรื่องการปลูกมะนาว  กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการปลูกมะนาว จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกร เรื่องการปลูกมะนาว 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาว 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เกษตรกรที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการปลูกมะนาวโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการปลูกมะนาวโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหาสาระ 6 หน่วย แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้  10 ข้อ ระยะเวลาในการอบรม 6.30 ชั่วโมง และชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 86/92 3) เกษตรกรมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาวโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ได้องค์ความรู้ในการปลูกมะนาว แบ่งเป็น 4 ขั้น คือ ขั้นความรู้ ขั้นตอนการฝึกฝนให้เป็นไปตามลำดับขั้นจากง่ายไปยาก ขั้นสาธิตและอธิบายแนะนำ และขั้นจัดให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุพิน บุญชูวงศ์. (2544). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
[2] De Cecco, J.P.(1974) The Psychology of Learning and Instruction: Educational Psychology.Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
[3] รวี เสรฐภักดี.(2557). เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู. ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์. นครปฐม : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.
[4] ทรงพล ทาเจริญ. (2557). เทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดู (ในวงบ่อซีเมนต์). เอกสารเผยแพร่ (ไฟล์ PDF). กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.
[5] พิชัย สมบูรณ์วงศ์. (2557). ปลูกมะนาวในกระถางสร้างเงินลดภาวะโลกร้อน. เอกสารเผยแพร่ (ไฟล์ PDF). ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
[6] บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
[7] อรวรรณ งัดขุนทด.(2558). เกษตรกรตำบลท่าสองคอน, สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ณ ไร่พารวย ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.
[8] สำลี พลเทพ.(2558). เกษตรกรตำบลท่าสองคอน, สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ณ ไร่ พารวย ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.
[9] จิรวัฒน์ กิตติมงคลมา. (2543). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาหนองหิน (ภูกระดึง). การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต.
มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.