แนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคม สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ

Main Article Content

คมณ์ แคนสุข

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และลักษณะความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคม สู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ และ 3) เพื่อศึกษาผลการนำแนวทางพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนและอุทยานการเรียนรู้จากโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามทั้ง 20 โรงเรียน และเลือกแบบเจาะจงโรงเรียนนาข่าวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีและมีการนำแนวทางพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และลักษณะ ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม ระยะที่ 2 กำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคม สู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ เครื่องมือ ได้แก่ แนวการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ แนวทางการวิเคราะห์องค์กร และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และระยะที่ 3 ศึกษาผลการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพไปใช้ เครื่องมือ ได้แก่ แนวทางการฝึกอบรม โครงการ แบบตรวจติดตามผลการดำเนินงาน แบบสอบถาม แบบบันทึกผลการประชุมกลุ่มย่อย แบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ


            ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของปัญหา การพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีความต้องการในการพัฒนา และความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความสำคัญต่อการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) การกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคม สู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ   ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ มี 9 แนวทางดังนี้ 2.1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนนาข่าวิทยาคม 2.2) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ 2.3) กำหนดยุทธศาสตร์หลัก 2.4) กำหนดมุมมอง 2.5) จัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ 2.6) กำหนดตัวชี้วัดตามเป้าประสงค์บนแผนที่ยุทธศาสตร์ 2.7) ระดมกิจกรรม/โครงการใหม่ๆ 2.8) จัดทำแผนปฏิบัติการ และ 2.9) แนวทางการนำแผนสู่การปฏิบัติ และ 3) ผลการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพไปใช้ พบว่า ตัวชี้วัดของโครงการสามารถบรรลุเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ตั้งไว้ จำนวน 9 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของผู้เรียนที่มีความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติดลดลง ตัวชี้วัดที่ 3 จำนวนหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (ชุมชนนาข่า) ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดที่ 5 จำนวนหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ตัวชี้วัดที่ 6 ร้อยละของผู้เรียนที่มีความเสี่ยงทางเพศลดลง ตัวชี้วัดที่ 8 ร้อยละ  ของครู นักเรียน และชุมชนที่ใช้อินเทอร์เน็ตภายในสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 9 ร้อยละของผู้เรียนที่มี ส่วนร่วมอนุรักษ์ และพัฒนาป่าชุมชน ตัวชี้วัดที่ 10 ร้อยละของคณะครูที่ได้รับการยกย่องเป็นครูดีเด่นประจำปี และตัวชี้วัดที่ 12 ร้อยละของนักเรียนที่ร่วมทัศนศึกษา ส่วนตัวชี้วัดที่มีผลการประเมิน ไม่บรรลุเป้าหมาย มีจำนวน 3 ตัว ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของนักเรียนชั้น ม.6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดที่ 7 จำนวนฐานความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และตัวชี้วัดที่ 11 ร้อยละ ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา. (2552). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 (ก) หน้า 3 วันที่ 19 สิงหาคม, 2552.
[2] กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2552). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2552-2554).
[3] คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2558). [ออนไลน์]. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. [วันที่สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2558]. สืบค้น
จาก http://www.py.ac.th/home/images/pypaper/reduce.pdf
[4] เจษฎากร ทองแสวง. (2553). แนวทางการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[5] เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2552). ข้อเสนอแนะการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟิก จำกัด.
[6] วิทยากร เชียงกูล. (2552). [ออนไลน์]. การศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. [วันที่สืบค้น 4 มิถุนายน 2558]. สืบค้นจาก
http://www.onec.go.th/admin/admin_cal/content/uploade
[7] โรงเรียนนาข่าวิทยาคม. (2557). รายงานการประเมินตนเองโรงเรียนนาข่าวิทยาคม ปีการศึกษา 2557. โรงเรียนนาข่าวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม.
[8] กรมวิชาการ. (2544). แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
[9] สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (2545). ปาฐกถาเรื่อง การศึกษาของผู้ด้อยโอกาส. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
[10] บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
[11] ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2550). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
[12] สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์.(2555). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม.วารสารวิทยบริการ. 23(1) : 28-29.
[13] ชุติมา สัจจานันท์. (2556). แนวคิดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักเรียน. ในชุดฝึกอบรมทางไกลการรู้สารสนเทศ สำหรับครูบรรณารักษ์. (ตอนที่ 7 เรื่องที่ 7.1. หน้า 139
-143). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[14] พสุ เดชะรินทร์. (2545). เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[15] วัฒนา พัฒนพงศ์. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดการเพิ่มผลผลิตภาคบริการ. กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
[16] สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์. (2549). บทสรุปการวางแผนกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซี แอน เอ็น.
[17] คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. (2548) . [ออนไลน์]. แผนยุทธศาสตรการพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546- พ.ศ.2550. [วันที่สืบค้น 26 ตุลาคม 2548]. สืบค้นจาก
www.cgd.go.th/Library/knowledge/knowledge.htm