การบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมสู่การเรียนการสอนและการบริการวิชาการ โดยใช้สื่อไอซีที

Main Article Content

ธรัช อารีราษฎร์
วรปภา อารีราษฎร์
อภิชาติ เหล็กดี
นิรุตต์ บุญคง

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนากิจกรรมการบูรณาการงานศิลปะและวัฒนธรรมสู่การเรียนการสอน ในรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี-1 2) ศึกษาผลการเผยแพร่งานกิจกรรมการบูรณาการงานศิลปะและวัฒนธรรมสู่การเรียนการสอนของนักศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการทำกิจกรรมการบูรณาการ  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ นักศึกษาสาขาการจัดการเทคโนโลยี หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 จำนวน 17 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชา 7090103  สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี-1 ในภาคเรียนที่ 3/2558  กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดศรีสะเกษ ที่สมัครเข้ารับการอบรม  ในกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมโดยใช้เนื้อหาผ่านสื่อ eDLTV ที่เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม  ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เดือนกรกฎาคม 2559 จำนวน 60 คน


            ผลการวิจัย พบว่า  1) การบูรณาการงานศิลปะและวัฒนธรรมสู่การเรียนการสอน ในรายวิชาสัมมนาด้านการจัดการ เทคโนโลยี-1  ผู้วิจัยได้ปรับปรุงรายละเอียดแผนการสอนหรือ มคอ.3  รายวิชาสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี-1 ได้นำรูปแบบของ วรปภา อารีราษฎร์ และ ธรัช อารีราษฎร์ (2558) มาประยุกต์ใช้  ในรายวิชาสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี-1 โดยการปรับปรุงรายละเอียดแผนการสอนหรือ มคอ.3  กำหนดประเด็นหัวข้อสัมมนาใน/นอกสถานที่ เพื่อบริการวิชาการด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ชุมชน2) ผลการศึกษาผลการเผยแพร่งานกิจกรรมการบูรณาการงานศิลปะและวัฒนธรรมสู่การเรียนการสอนของนักศึกษาที่ดำเนินการโดยนักศึกษาวางแผนการนำ กิจกรรมลงสู่การให้บริการโรงเรียนพระปริยัติธรรมเรื่อง วันสำคัญทางศาสนา โดยมีหัวข้ออบรม 3 หัวข้อ คือ 2.1) สื่ออีดีแอลทีวีกับการเรียนการสอน 2.2) การประยุกต์ใช้สื่ออีดีแอลทีวีในการเรียนการสอน และ 2.3) กิจกรรมการเรียนรู้วันสำคัญทางศาสนาจากสื่ออีดีแอลทีวี  จำนวนเวลาที่ใช้ในการอบรม 2 วัน วันละ 6 ชั่วโมง โดยนักศึกษาได้ลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรม วันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 60 คน โดยนักศึกษาวางแผนดำเนินการจัดอบรมเผยแพร่รูปแบบกิจกรรมโดยใช้สื่ออีดีแอลทีวี ในเรื่อง วันสำคัญทางศาสนา และความคิดเห็ดของครูที่เข้ารับการอบรมโดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และ 3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2557). การอนุรักษ์ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นจากจาก http://kpi.msu.ac.th/upload/org_tor_ref_bymst/in_4.1.1.1_4_(2557)_548.doc
[2] สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพมหานคร.
[3] วรปภา อารีราษฎร์. (2555). การศึกษาผลการเรียนรู้จากการบูรณาการงานบริการวิชาการและงานวิจัย เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ สู่การเรียนการสอน รายวิชาสัมมนาทาง
คอมพิวเตอร์ศึกษา. เอกสารประชุมวิชาการการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ของชุมชน เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,19-20 กรกฎาคม 2555 มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม, (11-19).
[4] ธรัช อารีราษฎร์. (2558). ผลการเรียนรู้สู่การวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพ และแนวทางการดำเนินงานการบริหารจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ.
[5] สายสมร เฉลยกิตติ จุฑารัตน์ บันดาลสิน กุสุมา กังหลี และพรนภา คำพราว. การศึกษาผลของการบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา วทศท 101 การศึกษาทั่วไป
เพื่อการพัฒนามนุษย์ต่อความมีจิตอาสาและความสุขในการเรียนของนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 421-429.
[6] Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.
[7] คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2556). แผนพัฒนาการศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[8] กรมวิชาการ. (2542). เทคโนโลยีศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว .