การบริการวิชาการโดยใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการของ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

อภิชาติ เหล็กดี

บทคัดย่อ

         การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริการวิชาการโดยใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ศึกษาผลการเผยแพร่กิจกรรม 3) ศึกษาผลการวิเคราะห์โครงการประกวดสื่อดิจิทัล PBL using ICT และ 4) สรุปผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีทีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเป้าหมาย เป็นครู อาจารย์ และนักศึกษาที่เข้าร่วมประกวดสื่อดิจิทัล (PBL using ICT) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที  สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ


         ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริการวิชาการโดยใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้แบบโครงการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รอบที่ 1 มี 8 ขั้นตอน และรอบที่ 2 มี 6 ขั้นตอน  2) ผลการเผยแพร่กิจกรรมสู่โรงเรียนพระปริยัติธรรม ครูผู้สอนจัดทำสื่อดิจิทัลการเรียนรู้แบบโครงการโดยใช้ไอซีที 8 ขั้นตอน จัดการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 70 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 30  3) ผลการประกวดสื่อดิจิทัลมีผู้เข้าร่วมโครงการ 98 คน ผลงานผ่านเกณฑ์ 26 เรื่อง เป็นประเภทอาจารย์ ร้อยละ 15.38  ประเภทครู ร้อยละ 26.92  และประเภทนักศึกษา ร้อยละ 57.69  4) ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงการโดยใช้ไอซีที ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 9 ขั้นตอน วิชาที่จัดการเรียนรู้สูงสุด คือ วิชาคอมพิวเตอร์ การบูรณาการรายวิชา และรายวิชาระดับปริญญาตรี มีสื่อดิจิทัลที่ใช้ 6 กลุ่ม มีการใช้งานสูงสุด คือ สื่อประเภทวีดิโอ โซเชียลมีเดีย และโปรแกรมสำเร็จรูป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2559). เครือข่ายมหาวิทยาลัยใช้นวัตกรรมไอทีพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก
https://www.nstda.or.th/news/21828-nstda
[2] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2559). บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสนองพระราชดำริ : ไอซีทีส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม.
[3] มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ, (2559): (เว็บไซต์).
[4] ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แหงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: Mc Graw Hill Book, Co, Inc.
[6] สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2889. กรุงเทพฯ.
[7] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ 2552-2553. กรุงเทพฯ.
[8] วรปภา อารีราษฎร์ และคณะ. (2559). การพัฒนางานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการให้บริการโครงการ ขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็ก
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม. มหาสารคาม.