การยอมรับระบบสารสนเทศการเลือกหลักสูตรอบรม รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Main Article Content

พลศุภรักษ์ ศิริจันทรานนท์
วรปภา อารีราษฎร์
มนต์ชัย เทียนทอง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการยอมรับระบบสารสนเทศตามรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามตัวแบบการนำไปใช้เทคโนโลยี TAM ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ถึงประโยชน์ เครื่องมือการวิจัย คือระบบสารสนเทศ ตามรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และแบบสอบถามการยอมรับที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง
0.67-1.00  กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นอาสาสมัคร จำนวน 68 คน คัดเลือกแบบเจาะจงเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดโรงเรียน อบจ. สมัครเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 30 มกราคม 2561 โดยผ่านเว็บไซต์ http://gg.gg/8a3g6 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการยอมรับระบบสารสนเทศตามรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามตัวแบบการนำไปใช้เทคโนโลยี TAM โดยรวมในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 - 2561). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟ จำกัด.
[2] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2558). โครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏสนองพระราชดำริ: ไอซีทีส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[3] กฤษณพล จันทร์พรหม. (2548). การศึกษารูปแบบมหาวิทยาลัยเสมือนจริงที่เหมาะสมสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ., กรุงเทพฯ.
[4] Everett M. Rogers. (1995). Diffusion of Innovations. 4 th ed. New York : Free Press.
[5] Ryan, B. & Gross, N.C. (1943). The Diffusion of hybrid seed corn in two Iowa communities. RuralSociology, (8), 15-24.
[6] สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2560). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นจาก http://journal.it.kmitl.ac.th/read.php?
article_id=4fc7969f1698b87278000000.
[7] วรปภา อารีราษฎร์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
[8] ธรัช อารีราษฎร์. (2559). รูปแบบการดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
[9] วีระพน ภานุรักษ์, ธรัช อารีราษฎร์, สุขแสง คูกนก, และ สายชล จินโจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเผยแพร่แหล่งการ เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นออนไลน์เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 20(1), 46.
[10] ไชยยันต์ สกุลไทย. (2558). การพัฒนากิจกรรมค่ายอาสาเพื่อเผยแพร่สื่ออีดีแอลทีวีสู่ชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[11] Best, John. W. (1997). Research in Education. (3nd. Ed.,). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hell.