ระบบแจ้งเตือนปริมาณคงเหลือของแก๊สในครัวเรือนและการสั่งซื้อ

Main Article Content

Thanin Muangpool

บทคัดย่อ

           บทความนี้นำเสนอระบบแจ้งเตือนปริมาณคงเหลือของแก๊สในครัวเรือนและการสั่งซื้อ องค์ประกอบหลักของระบบประกอบด้วย โหลดเซลล์เซ็นเซอร์ โมดูลขยายสัญญาณ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ และจีพีเอสโมดูล หลักการทำงานของระบบเริ่มจากโหลดเซลล์เซ็นเซอร์ทำการอ่านค่าน้ำหนักถังแก๊สพร้อมกับทำการขยายขยายสัญญาณและส่งค่าน้ำหนักให้กับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อประมวลผลและแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทราบปริมาณแก๊สผ่านแอปพลิเคชันไลน์ การแจ้งเตือนมี 3 ระดับ ได้แก่ แจ้งเมื่อระดับแก๊สอยู่ที่ 50%, 25% และ 5% โดยในแต่ละระดับจะแจ้งเตือน 3 ครั้งห่างกันครั้งละ 5 นาที ที่ระดับ 5% จะให้ลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อแก๊ส ถ้าลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อแก๊ส ระบบจะค้นหาตำแหน่งละติจูด ลองจิจูด ผ่านกูเกิ้ลแมปเอพีไอ เพื่อส่งตำแหน่งให้กับร้านส่งแก๊สผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เมื่อร้านส่งแก๊สได้รับข้อความการสั่งซื้อจะค้นหาตำแหน่งการจัดส่งแก๊สโดยผ่านกูเกิ้ลแมป การทดลองการทำงานของระบบในพื้นที่ 3 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งมีละติจูด ลองจิจูด ที่แตกต่างกัน เพื่อทดสอบการแจ้งเตือนและการสั่งซื้อสำหรับลูกค้า การรับค่าพิกัดและการตรวจสอบแผนที่ตำแหน่งการส่งแก๊สสำหรับร้านส่งแก๊ส ผลการทดสอบพบว่าระบบสามารถทำงานได้ถูกต้องทุกครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ฐาปนีย์ ภักดี และอภิชาติ เหล็กดี. (2560). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นคำศัพท์ภาษาอาเซียนเบื้องต้น บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[2] สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) (ออนไลน์). (2559). เข้าถึงได้จาก https://www.daat.in.th/index.php
สืบค้นเมื่อ พ.ค.61.
[3] ธานิล ม่วงพูล และ อวยไชย อินทรสมบัต. (2560). การพัฒนาระบบระบายความร้อนด้วยท่อทำความเย็นแบบท่อทองแดงร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม– ธันวาคม 2560 หน้า 47-56. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.
[4] อภิรักษ์ บุตรละ. (2552). การประยุกต์ใช้ Google Maps ในการพัฒนาระบบการคำนวณค่ารถ Taxi ในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
[5] ภูมินทร์ สุขพรหม, อวยไชย อินทรสมบัติ และธานิล ม่วงพูล. (2560). แอปพลิเคชันแผนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 4. วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.
[6] ณัฐกานต์ ปึงธนาพิทักษ์, ระพี ตรีอินทอง, ปิติพล พลพบู, และธานิล ม่วงพูล. (2560). การแจ้งค่า BMI ด้วยเสียงผ่านเครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงแบบอัตโนมัติ. การประชุมวิชาการระชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี.
[7] ธัญภพ ศิริมาศเกษม, กฤษติยพงษ์ ขวัญวงษ์, อิษฎา แสงโชติ, ศักดิ์ศรี แก่นสม, ธเนศ ตั้งจิตเจริญเลิศ, อิสรี ศรีคุณ, กวีพจน์
วรเนตรสุทธิกุล, ปาริฉัตร แก่นสม และประชารัฐ สัตถาผล. (2560). การพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสารอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กรุงเทพมหานคร.
[8] ไพโรจน์ เป็งเมืองลอง, รติบดี ฉายา และน้ำฝน ก้าแพงงาม. (2557). เครื่องบินบังคับวิทยุ 4 ใบพัดระบุพิกัด จีพีเอส. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
[9] NEO-6 u-blox 6 GPS Modules Data Sheet (ออนไลน์). (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก https://www.u-blox.com/sites/ default/files/ products/documents/NEO-6_DataSheet_(GPS.G6-HW-09005).pdf. สืบค้นเมื่อ ม.ค.61.
[10] วรัญ ศรีธรรมรงค์, อวยไชย อินทรสมบัติ, ธานิล ม่วงพูล. (2560). การพัฒนาระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการรั่วไหลของแก๊สในห้องครัวด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี.
[11] นิคม ลนขุนทด. (2560). โปรแกรมควบคุมระบบการตรวจจับปริมาณแก็สแอลพีจีในห้องครัวด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์พร้อมระบบส่งสัญญาณเตือนภัย. วรสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2557. หน้า 104-112. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์.
[12] L.P.Deshmukh, T.H.Mujawar, M.S.Kasbe, S.S.Mule, J.Akhtar and N.N.Maldar. (2016). A LabVIEW based remote monitoring and controlling of wireless sensor node for LPG gas leakage detection. International Symposium on Electronics and Smart Devices (ISESD). Bandung. pp. 115-120.
[13] T. Arpitha, D. Kiran, V. S. N. S. Gupta and P. Duraiswamy. (2016). FPGA-GSM based gas leakage detection system. 2016 IEEE Annual India Conference (INDICON). Bangalore. pp. 1-4.
[14] Akshay M.S, Chaitra B.N, Murali G, and Sumangals Gejje. (2016). Design and Implementation of a gas leakage detector using wireless data acquisition system for real time applications using the concept of IoT. International Journal on Recent and Innovation Trends in Computing and Communication. April 2016. volume 4 Issue 4. pp. 266-268.