รูปแบบการนิเทศแบบ พีไอพีอาร์อี ที่ส่งเสริมทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

วดี แคนสุข

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนาการสอนคิดวิเคราะห์ 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนาการสอนคิดวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ การจัดทำร่างรูปแบบการนิเทศ ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จากโรงเรียนสังกัด อบจ.มหาสารคาม ทั้งหมด 20 โรงเรียนๆ ละ 5 คน รวมทั้งหมด 100 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 4 โรงเรียนๆ ละ 5 คน รวมทั้งหมด 20 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง การตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือ ได้แก่ แนวการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้พื้นฐาน แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ เลือกทำการทดลองที่โรงเรียนนาข่าวิทยาคม ประชากร ได้แก่ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 7 คน และครูผู้สอน จำนวน 35 คน นักเรียน จำนวน 751 คน รวมประชากรทั้งหมด 794 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้นิเทศ จำนวน 7 คน ครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 8 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง นักเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน จำนวน 232 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 247 คน เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ระยะที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ที่ทำการศึกษา ได้แก่ ฝ่ายบริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้นิเทศ จำนวน 7 คน และครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 8 คน รวมทั้งหมด จำนวน 20 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ค่า t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนาการสอนคิดวิเคราะห์ของครูส่วนมากเกิดจากครูผู้สอนที่ไม่เข้าใจหลักสูตร เกิดจากพฤติกรรมของผู้เรียนที่ไม่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ขาดแรงจูงใจทางการเรียน ขาดความเอาใจใส่ กำกับ นิเทศติดตามของผู้บริหาร และการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ของครู

  2. รูปแบบการนิเทศแบบพีไอพีอาร์อี ประกอบด้วย กระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การให้ความรู้ 3) การดำเนินการ ประกอบด้วย (1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (2) การสังเกตการสอน (3) การประชุมหลังการสังเกตการสอน 4) การสะท้อนคิด และ 5) การประเมินผล โดยมีการกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน และผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่า มีคุณภาพ และมีองค์ประกอบครบถ้วน สมบูรณ์

  3. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศแบบ พีไอพีอาร์อี โดยการนำไปใช้ในโรงเรียน พบว่า 1) ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงมาก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8529 คิดเป็นร้อยละ 85.29 2) ครูผู้รับการนิเทศ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.8507 คิดเป็นร้อยละ 85.07 สมรรถภาพในการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับสูงมาก (ร้อยละเฉลี่ย 85.49) และความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ อยู่ในระดับสูงมาก 3) นักเรียนทุกทุกห้องเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง มีผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการสอนคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนของครู ผู้รับการนิเทศก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ

  4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ด้านผลกระทบของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และด้านความคุ้มค่าของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
[2] เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า. (2558). ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. สืบค้นจาก http://www.bnc.ac.th/knowledge/wp-content upload.
[3] สุทัศน์ เอกา. (2556). ทำไมต้อง Teach Less Learn More. สืบค้นจาก http://wwwkruthai40.ning.com/proflies/blogs
[4] ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบสบุ๊คส์.
[6] ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: ธุรกิจบัณฑิต.
[7] เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). การประยุกต์ใช้แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM) สู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน คณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์, 23(1), 1-11.
[8] วิทยากร เชียงกูล. (2552). การศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นจาก http://www.onec.go.th/admin/admin_cal
[9] เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.
[10] สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[11] ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). การชี้แนะทางปัญญาเพื่อการพัฒนาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 7(2), 28-35.
[12] วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
[13] ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู
เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑล. นครปฐม: สาขาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[14] แววดาว พานดวงแก้ว. (2555). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม องค์การบริหารส่วน จังหวัดมหาสารคาม.
[15] ก่อ สวัสดิพานิชย์. (ม.ป.ป.). แนวคิดและทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
[16] Schoderbek, Peter, Charles, G., & Kefalas, Asterios. (1990). Management System: Conceptual Consideration (4th ed.). Richard D.Irwin, Homewood, III.
[17] Spears, Harold. (1976). Improving the Supervision of Instruction. New York: Prentice-Hall..
[18] อรศรี งามวิทยาพงศ์. (2549). กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทย และการเปลี่ยนแปลงจากยุคชุมชนหลังยุคพัฒนาความทันสมัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.).
[19] สุปรียา ศิริพัฒนากุลขจร. (2552). การพัฒนาการเรียนรู้วิชาเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมและควบคุมโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/graduate/upload/content/files
[20] Costa, Arthur., & Garmston, Robert. (2002). Cognitive Coaching: A Foundation for Renaissance Schools
(2nd ed.). Sandy, UTha: TeachStream/Video Journal of Education.
[21] นภดล ร่มโพธิ์. (2552). การประเมินความสำเร็จของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร. สืบค้นจาก www.jba.tbs.tu.acth