การพัฒนาสื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ด้วยสื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

ชมพูนุท เมฆเมืองทอง
ศิริประภา แสงจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยสื่อสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้สื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยสื่อสังคมออนไลน์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร


ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารผ่าน Facebook Page สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร:RMU ระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2561 จำนวน 65 โพสต์ เป็นการสื่อสารด้วยสื่อประเภทภาพ 31 โพสต์ ประเภท วีดิโอ 32 โพสต์ และประเภทลิงค์ 21 โพสต์ พบว่า หลังสิ้นสุดการพัฒนา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2561 มีจำนวนผู้ถูกใจเพจ 1,711 คน เพิ่มขึ้นจากก่อนการดำเนินการ 111 คน นอกจากนี้ยังมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเพจรวมจำนวน 1,535 ครั้ง มีการเข้าถึง 28,800 คน และผู้เข้าถึงมีส่วนร่วมในโพสต์ 21,475 คน
2) การศึกษาผลการทดลองใช้สื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ประสิทธิภาพของเพจโดยรวม พบว่ามีการเข้าถึง 28,800 คน และผู้เข้าถึงมีส่วนร่วมในโพสต์ 21,475 คน ส่งผลให้ค่าเฉลี่ย Facebook Engagement Rate Page สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร:RMU หลังสิ้นสุดการดำเนินการ มีค่า Engagement Rate คือ 74.57% หรือเท่ากับ 0.75 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุด 3 ลำดับ คือ มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย,  ช่องทางการประชาสัมพันธ์เหมาะสม และข้อมูลข่าวสารมีประโยชน์/น่าสนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] รัญญา นาคนุ่น. (2556). การสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางสื่อออนไลน์ (สื่ออินเตอร์เน็ต) และทัศนคติที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์สบู่แครอทฟิลิปปินส์ที่จำหน่ายทางออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
[2] สุภาวิดา นิ่มอร่าม. (2553). ทัศนคติและพฤติกรรมการเปิดรับสารเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อของวัยรุ่นหญิงในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[3] ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับกาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อใหม่. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 20(65), 42-51.
[4] สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (2561) ETDA เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html
[5] ชมพูนุท เมฆเมืองทอง. (2560). The paradigm of Corporate Communication research in the decade (2007 - 2016). วารสารช่อพะยอม, 28(3), 215-226
[6] ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา. (2561). ค่าเฉลี่ย Facebook Post Engagement Rate กลางปี 2018. สืบค้นจาก https://www.twfdigital.com/blog/2018/09/average-fb-engagement-rate-thai-pages-mid2018/
[7] ปิยะภัทร คงแสนคำ. (2556). การศึกษาการใช้สื่อใหม่เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของกองทัพบกไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[8] ชมพูนุท เมฆเมืองทอง และนิรุต ถึงนาค. (2560). การพัฒนาโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัด เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(1), 69-82.
[9] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[10] จิราพร รุจิวัฒนากร. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (รายงานการวิจัย). ชัยภูมิ: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ.
[11] สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์. (2557). สื่อใหม่: กุญแจเพื่อการพัฒนาองค์การสมัยใหม่. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานครปริทัศน์, 4(1), 79-97.
[12] จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 8(2), 55-69.