การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับ การวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พรปวีณ์ ฝ่าวิบาก

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรม
ผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับ
การวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 3) ตรวจสอบรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา และ 4) รับรองและนำเสนอรูปแบบ    การฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ครูผู้สอนสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 274 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา จำนวน 10 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 5 คน และด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 5 คน เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 คน และด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 3 คนเพื่อรับรองรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ และ 3) แบบรับรองรูปแบบของผู้ทรงคุณวุฒิต่อรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสอดคล้องของข้อคำถามหรือรายการของแบบสอบถาม    


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูอาชีวศึกษาบางส่วนยังขาดความรู้ สมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการศึกษา ทักษะการใช้สื่อของครูยังไม่หลากหลาย 2) ร่างรูปแบบ          การฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) เป้าหมายของการฝึกอบรม (2) ชนิดของ      การฝึกอบรม (3) เนื้อหาการฝึกอบรม (4) บทบาทผู้ให้การฝึกอบรม (5) บทบาทผู้เข้ารับการฝึกอบรม (6) บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกการฝึกอบรม (7) วิธีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมในการฝึกอบรม (8) สื่อสังคมที่ใช้ในการฝึกอบรม (9) ปัจจัยสนับสนุนการฝึกอบรม (10) การประเมินผลการฝึกอบรม ขั้นตอนการฝึกอบรมฯ (1) วิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นของการฝึกอบรม (2) ขั้นเตรียม (3) ขั้นปฐมนิเทศ (4) ขั้นฝึกอบรม ในขั้นนี้จะแบ่งออกเป็น
(4.1) การสร้างความสนใจโดยใช้การ Post เหตุการณ์ผ่าน Facebook (4.2) การสำรวจและค้นหา ทำกิจกรรมบนกระดานความคิดเห็น ผ่าน Facebook (4.3) การอธิบายและลงข้อสรุป ทำกิจกรรมบนกระดานความคิดเห็น
ผ่าน Facebook (4.4) การขยายความรู้ อภิปรายและนำเสนอโดยใช้ Google Slide แชร์ URL ผ่าน Facebook
(4.5) การประเมินผลโดยใช้แบบประเมินผ่าน Google Form แชร์ URL ผ่าน Facebook และ (5) ขั้นประเมินผล 3) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อร่างรูปแบบฯ โดยรวมในระดับความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.30 อยู่ในระดับมาก และ 4) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบฯ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 5 ขั้นตอน โดยรวมในระดับความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.49 อยู่ในระดับมาก และระดับความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย 4.46  อยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125. ตอนที่ 3ก. น. 1-24.
[2] ลสมณ พึ่งศาสตร์, เมธินี วงศ์วานิช รัมภกากรณ์, และพนิต เข็มทอง. (2558). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูในวิทยาลัย
พณิชยการบึงพระพิษณุโลก. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30(2), 173-180 .
[3] นวลจันทร์ ปุยะกุล. (2551). โรงงานแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาเส้นทางแห่งนวัตกรรมการอาชีวศึกษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[4] Halfdan, F. (2009). USESCO strategy on Technical and vocational education and training (TVET). Born :
Gernam.
[5] Manfred, T. & Jennifer, W. (2004). Vocational education and training-key to the future.
Luxemborug : Publications of the European Communities.
[6] กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. (2559). ผลงานทางวิชาการ, สืบค้นจาก http://teacherkobwit2010.wordpress.com
[7] Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York : Mc. Graw-Hill.
[8] สุวิทย์ มูลคำ, และอรทัย มูลคำ. (2553). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
[9] ชัยยงค์ พรหมวงษ์. (2560). เทคโนโลยีทางการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[10] จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2544). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
[11] Good, H. G. (1973). A History of American Education. New York : Macmillan.
[12] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
[13] พรพรรณ พึ่งประยูรพงศ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวคอนสตริคติวิสต์ด้วยการจัดการ
เรียนรู้แบบสืบสอบ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[14] Barman (1989). The Learning Cycle. New Jersey: Prentice-Hill.
[15] Thoman. (2003). Literacy for the 21st Century : An Overview & Orientation Guide To Media Literacy Education. Retrieved from www.medialit.org.
[16] กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่องการสื่อสารชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[17] กิตติพงษ์ หมอกมุงเมือง. (2546). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะภาคปฏิบัติในวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงของนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยเสริมกิจกรรมการออกแบบการทดลอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[18] อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26(80), 147-161.
[19] อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล และคณะ. (2549). เปิดประตูสู่การรู้เท่าทันสื่อ : แนวคิดทฤษฎีและประสบการณ์รู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ.
[20] ญาณีนา แถมพลอย. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บนสื่อสังคมด้วยการสืบสอบแบบชื่นชมจากกรณีตัวอย่างที่
มีต่อการคิดขั้นสูงสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปที่ 3 : การวิเคราะห์เครือข่ายสังคมออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[21] จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2553). ผลการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1), 21-32.
[22] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
[23] จุฑามาศ ผกากลีบ. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด
ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 5(1), 204-214.
[24] วรปภา อารีราษฏร์, ธรัช อารีราษฎร์, และพลวัฒน์ อัฐนาค. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 3(1), 7-15.
[25] ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสมา ผลาพรม. (2545). พื้นฐานการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
[26] เสน่ห์ จุ้ยโต. (2544). การฝึกอบรมเชิงระบบ: ทฤษฎีการเรียนรู้แนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 4) . นนทบุรี: โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[27] สมคิด บางโม. (2544). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.