The การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

พรไพลิน เฉิดละออ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) ศึกษาคุณภาพของสื่อการสอนมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อการสอนมัลติมีเดียวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแบบประเมินคุณภาพสื่อการสอนมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินคุณภาพสื่อการสอนมัลติมีเดีย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน คัดเลือกแบบเจาะจง


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้สื่อการสอนมัลติมีเดีย ประกอบด้วย 3 โมดูลหลัก คือ โมดูลบทเรียน 7 บทเรียน 14 แผนการจัดการเรียนรู้ โมดูลแบบฝึกหัดท้ายบท 7 บท และโมดูลแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
และ 2) คุณภาพของสื่อการสอนมัลติมีเดียตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมมีคุณภาพ อยู่ในระดับ
มากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[3] สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
(2554). การเรียนคณิตศาสตร์ : ความจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้นจาก http://social.obec.go.th/node/22
[4] วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์.
[5] The National Council of Teachers of Mathematics [NCTM]. (2000). Principles and Standards for School
Mathematics. Virginia: NCTM.
[6] มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์บทเรียนคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[7] ลลิดา อ่ำบัว. (2561). เทคโนโลยีกับการศึกษา. นิตยสาร สสวท, 46(211), 28-32.
[8] อัจฉรีย์ พิมพิมูล. (2550). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
[9] สุรีรัตน์ แสนนอก. (2559). ผลการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ปริมาตรของปริซึม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.
ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2:
บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน. น. 829-835. นครราชสีมา:วิทยาลัยนครราชสีมา.
[10] อมรรัตน์ ทองดี, และศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2558). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลข
ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง (อินทปัญญาราษฎร์นุกูล) อำเภอโพธาราม
จังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ,
8(2), 2321-2335. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article
/view /40933/33876
[11] บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[12] สวียา สุรมณี และอิสระ ขวาน้ำคำ. (2558). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเรื่อง จริยธรรมในโลกของข้อมูลสำหรับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 2(2), 56-63.