การศึกษาความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ และการจัดการข้อมูล ที่มีต่อความสำเร็จของธุรกิจ

Main Article Content

เนารุ่ง วิชาราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ใช้ในธุรกิจ 2) ศึกษาการจัดการข้อมูลของธุรกิจ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่  และการจัดการข้อมูลเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 206 กิจการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกิจการ แบบสอบถามแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ใช้ในธุรกิจ แบบสอบถามการจัดการข้อมูล  แบบสอบถามเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1) สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2) สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานข้อมูลการศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่และการจัดการข้อมูล   เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ คือโมเดลสมการโครงสร้าง


 ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ใช้ในธุรกิจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก กิจการที่มีการใช้แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ของกิจการอยู่ในระดับมากที่สุด คือ Social Media 2) การจัดการข้อมูลของกิจการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การจัดการข้อมูลของกิจการที่ใช้มากที่สุดคือ ระบบธุรกิจอัจฉริยะ 3) แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจที่  0.77 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 การจัดการข้อมูล มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจที่ 0.73  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ มีอิทธิพลต่อการจัดการข้อมูลที่ 0.95 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุทธาภา อมรวิวัฒน์ และคณะ. (2560). เปิดมุมมองธุรกิจด้วย Big Data. กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพาณิชย์.
[2] วิชาญ ทรายอ่อน. (2559). Big Data ในภาครัฐ. เอกสารวิชาการ Academic Focus. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
[3] พนิดา สัตโยภาส และอัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2560). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาวะผู้ประกอบการ
และการมุ่งเน้นการตลาดที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่.
วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(14), 27-40.
[4] ณฐ์ภัชช์ พงษ์เลื่องธรรม. (2561, 13 มีนาคม). Big Data กับการวิเคราะห์ติดตามภาวะเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ. สืบค้นจาก
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644140
[5] ผุสดี บุญรอด. (2558). การค้นคืนข้อมูลขนาดใหญ่โดยใช้ภาษาสอบถามแบบไม่มีโครงสร้างร่วมกับเทคโนโลยีเว็บเชิง
ความหมาย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 25(2), 255-264.
[6] อนันต์ ปินะแต และภานุวัฒน์ สว่างแสง. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฐานข้อมูลการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อ
ในระดับปริญญาตรี ระบบพิเศษ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม, 6(1), 98-107.
[7] สุนิสา สาครน้อย, อัญณิฐา ศิษฐานนท์, อรพรรณ คงมาลัย, และ ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา. (2560). สภาพแวดล้อมองค์กร
ในการประเมินความพร้อมก่อนนำระบบธุรกิจอัจฉริยะ. วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
6(2), 63-71.
[8] จิรสิน กิตานุวัฒน์. (2558). ความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการจัดการข้อมูล
เพื่อความสำเร็จของกิจการในกลุ่ม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต),
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.