ผลการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

รตนดา อาจวิชัย
วิมล เขตตะ
เกียรติศักดิ์ อ่อนตามา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


รายงานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจออนไลน์ สำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 18-24 ปี ที่เป็นสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจ Healthy Delivery จำนวน 172 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการพัฒนาสื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า Facebook Page ให้ความรู้เรื่องสุขภาพชื่อ Healthy Delivery มีค่าความสำเร็จของ Page อยู่ในระดับปานกลาง Engagement Rate เท่ากับ 0.862  2) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม        ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการเข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ทุกวันต่อสัปดาห์มากที่สุดถึงร้อยละ 75.58 แอปพลิเคชันใน         การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ Facebook มากที่สุดถึงร้อยละ 88.95 และมีโอกาสได้เห็นข่าวสารสุขภาพผ่านทาง     สื่อสังคมออนไลน์1-2 วัน ต่อสัปดาห์ มากที่สุดถึงร้อยละ 33.14 เมื่อพบเจอหรือเห็นข่าวสารสุขภาพผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์แล้วกดคลิกเข้าไปอ่าน มากที่สุดถึงร้อยละ 68.60 โดยมีความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมี ความพึงพอใจในวิธีการนำเสนอข่าวสารสุขภาพบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Healthy Delivery” อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] หนึ่งหทัย ขอผลกลาง. (2552). พัฒนาการและแนวโน้มของการวิจัยด้านการสื่อสารสุขภาพในประเทศไทย (รายงานการวิจัย).นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[2] มุทิตา โพธิ์กะสังข์. (2551). เว็บไซต์สุขภาพการสื่อสารสุขภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ และคุณภาพข้อมูลในเชิงการแพทย์ และสาธารณสุข. (วิทยานิพนธ์ปริญยามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ.
[3] ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่ ตอนที่ 1. พัฒนาเทคนิคศึกษา,
20( 65), 42-51.
[4] กาญจนา แก้วเทพ, กิตติ กันภัย และปาริชาติ สถาปิตานนท์ สโรบล. (2543). การศึกษาการใช้สื่อใหม่เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของกองทัพบกไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[5] ยุทธนา ศรีงาม. (2557). สิทธิเสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนไทยในสื่อใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550. (วิทยานิพนธ์ปริญยามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[6] คณิศร รักจิตร. (2557). กลยุทธ์บนเว็บเพื่อการสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นกับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.
[7] Facebook Engagement Metrics. (2562). สืบค้นจาก https://www.klipfolio.com/resources/kpi-examples/social-media/facebook-engagement-metrics
[8] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
[9] กรวิชญ์ จงอุดมทรัพย์. (2557). การรับรู้และความสอดคล้องของค่านิยมไทยในละครซิทคอม เรื่อง บ้านนี้มีรักของผู้ชมในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
[10] Visual Social Media Marketing ศัพท์โซเชียลมาแรงที่สุดในเวลานี้. (2556). สืบค้นจากhttp://thumbsup.in.th/2013/04/visual-social-media-marketing/
[11] ZidanRider. (2556). Infographics คืออะไร และนำไปใช้งานอย่างไร. สืบค้นจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=843232
[12] สราวุฒิ ตรีรัตน์ตระกูล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ที่มีกับภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยในทัศนะของนักเรียนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2(1), 53- 61.
[13] ลักษมี คงลาภ. (2555). พฤติกรรมการเปิดรับและความต้องการของเด็กและเยาวชนที่มีต่อรายการสำหรับเด็กและเยาวชนทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการบริการสาธารณะไทยพีบีเอส. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 6(2), 113-143.
[14] กชพรรณ สุดปาน. (2556). การรับรู้และการจดจําโฆษณาแฝงในละครซิทคอมเรื่องบ้านนี้มีรัก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต),มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.