ระบบสารสนเทศอัจฉริยะสำหรับบริหารจัดการงบประมาณในแผนปฏิบัติการประจำปีของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

suttipong upontean

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการพยากรณ์ข้อมูลงบประมาณ
ในแผนปฏิบัติการประจำปี ระหว่างเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมแบบชั้นเดียว (Single Layer) โครงข่ายประสาทเทียมแบบหลายชั้น (Multi-Layer) และเทคนิคการถดถอยเชิงเส้น 2) พยากรณ์ข้อมูลงบประมาณในแผนปฏิบัติการประจำปี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจระบบสารสนเทศอัจฉริยะสำหรับบริหารจัดการงบประมาณในแผนปฏิบัติการประจำปี กลุ่มเป้าหมายคือจำนวน 46 คน แบ่งออกเป็น 3กลุ่ม โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 คือผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์จำนวน 3 คน กลุ่มที่ 2 คือผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนงาน จัดสรรงบประมาณใช้จ่ายงบประมาณของวิทยาลัย จำนวน 25 คน และกลุ่มที่ 3 คือผู้บริหารวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 18 คน โดยใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถามความพึงพอใจ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการพยากรณ์ข้อมูลงบประมาณในแผนปฏิบัติการประจำปี ระหว่างเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมแบบชั้นเดียว (Single Layer) โครงข่ายประสาทเทียมแบบหลายชั้น (Multi-Layer) และเทคนิคการถดถอยเชิงเส้น  พบว่า แบบจำลองในการพยากรณ์โดยใช้อัลกอริทึม Linear Regression  ให้ค่าประสิทธิภาพในการจำแนกข้อมูลสูงที่สุดหรือมีอัตราการถูกต้องในการทำนายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 78.37 ค่าสัมบูรณ์ของค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 0.16 ตามด้วย อัลกอริทึม Multi-Layer ให้ค่าประสิทธิภาพในการจำแนกข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 74.15 ค่าสัมบูรณ์ของค่าคลาดเคลื่อน เฉลี่ย 0.22 ตามด้วย อัลกอริทึม Single Layer ให้ค่าประสิทธิภาพในการจำแนกข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 73.23 ค่าสัมบูรณ์ของค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 0.20 ตามลำดับ  2) ผลการพยากรณ์อยู่ในระดับที่แม่นยำมาก โดยวัดจากความพึงพอใจจากผู้ใช้งานในด้านความถูกต้องแม่นยำในการพยากรณ์ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าระบบมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปใช้ในการประยุกต์ใช้ในองค์กรได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] มารศรี บัวชุม. (2554). ความโปร่งใสในการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
[2] วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, ฝ่ายยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพการศึกษา. (2561). รายงานประจำปี 25561 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: ผู้แต่ง.
[3] บุญเสริม กิจศิริกุล. (2545). อัลกอริทึมการทำเหมืองข้อมูล. (รายงานวิจัย) กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] จิระ กิจอนุสรณ์, และชุลีรัตน์ จรัสกุลชัย. (2553). การคาดการณ์ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยเทคนิคของเหมืองข้อมูล. วารสารเทคโนโลยี
สารสนเทศ, 6(12), 39-44.
[5] ผกามาศ นามทอง, และจรัฏฐา ภูบุญอบ (2562). การพัฒนาระบบกำกับติดตามโครงการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 6(1), 41-47.
[6] ลักขณา ฤกษ์เกษม .(2558). การพยากรณ์ความต้องการสินค้าสำหรับการวางแผนการผลิต : กรณีศึกษาการผลิตชุดสะอาด.วารสารปาริชาต, 28(3 ฉบับพิเศษ), 290-304.
[7] ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2560). ผลกระทบปัจจัยเชิงคุณภาพและปริมาณต่ออัตราผลตอนแทนของหุ้นสามัญ: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(39), 24-35.