การพัฒนาการเรียนการสอนแบบโครงงานที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สำหรับวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยใช้รูปแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตัวแบบอาไจล์

Main Article Content

มณีรัตน์ ผลประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการสอนแบบโครงงานที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสำหรับวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอาไจล์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณโดยรวมและรายด้าน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แผนการสอนแบบโครงงานฯ ของนักศึกษาโดยรวมและจำแนกตามเพศ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณโดยรวมและรายด้าน หลังเรียนโดยใช้แผนการสอนแบบโครงงานฯ ของนักศึกษาที่มีเพศต่างกัน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อความรู้ความสามารถของผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนด้วยแผนการสอนแบบโครงงานฯ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอนแบบโครงงานในรายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ฯ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ 3) แบบทดสอบวัดความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณฯ  4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาฯ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ดัชนีประสิทธิผลของแผนการสอนแบบโครงงานฯ และการทดสอบสมมติฐาน (One-way MANCOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการสอนแบบโครงงานฯ มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.692  2) นักศึกษาโดยรวมและจำแนกตามเพศ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณโดยรวม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน หลังเรียนโดยใช้แผนการสอนแบบโครงงานฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (p ≥ 0.110) และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อความรู้ความสามารถของผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนด้วยแผนการสอนแบบโครงงานฯ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวาน กราฟฟิก จำกัด.
[2] วัชรินทร์ โพธิ์เงิน, พรจิต ประทุมสุวรรณ, และสันติ หุตะมาน. (2557). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน.
สืบคืนจาก http://www.fte.kmutnb.ac.th/km/project-based%20learning.pdf.
[3] ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). แนวทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน, 9, หน้า 136- 154.
[4] Kolb, D.A. 1984. Experiential Learning: Experience as a Source of Learning and Development. New Jersey: Prentice-Hall.
[5] คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ.
[6] เพ็ญประภา บุตรละ, โอฬาร โรจนพรพันธุ์, และพรชัย มงคลนาม. (2015). ทักษะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกทีมพัฒนาในสกรัม. The Eleventh National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2015). 404-411.
[7] กฤษณา อุดมโภชน์, ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์, และ สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส. (2556). ผลของการสอนแบบโครงงานที่มีต่อทักษะการ แสวงหาความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการเครือข่าย บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 3(5), หน้า 43-54.
[8] อรเกษม จันทร์สมุด. (2557). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนิสิตปริญญาตรีที่มีคุณลักษณะการนำตนเอง เพื่อ การเรียนรู้ต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาสารคาม; มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[9] มินตรา รื่นสุข บุรัสกร อยู่สุข และปองพล นิลพฤกษ์. (2558). การประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile และการ บริหารโครงการรูปแบบ Scrum สำหรับโครงงานพิเศษระยะสั้น กรณีศึกษานักศึกศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาตรี. การ ประชุมวิชาการระดับชาติ "การพัฒนางานวิจัย บนฐานแนวคิดใหม่ เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน".ครั้งที่ 4, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
[10] ปิยนาฎ มาลีแก้ว, และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร. (2013). การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยวิธีผสมผสานระหว่างสครัมและ
เอ็กซ์ตรีมโปรแกรมมิ่ง. The 9th National Conference on Computing and Information Technology NCCIT2013). หน้า 899-904.
[11] นักรบ บุญถาวร. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ; มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[12] สิทธิพล อาจอินทร์, และ ธีระชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนา หลักสูตรสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย, 1(1), 1-16