การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ เรื่อง การตัดเย็บผ้า

Main Article Content

prapanush teesungnoen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ เรื่อง การตัดเย็บผ้า และ 2) ศึกษาค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามเกณฑ์ 75/75 โดยกลุ่มตัวย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคกศ.ปช. ปีการศึกษา 2561 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (คหกรรมศาสตร) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เรียนรายวิชา 419105 สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ เรื่อง การตัดเย็บผ้า 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และ 3) แบบประเมินคุณภาพด้านมัลติมีเดียโดยผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย โดยการประเมินผลจะนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสอดคล้อง และค่าผลการประเมินประสิทธิภาพการเรียนรู้ (E1/E2) เป็นต้น ซึ่งภายในสื่อมัลติมีเดีย ประกอบด้วย บทนำ คำชี้แจงบทเรียน วัตถุประสงค์ เมนูหลัก แบบทดสอบก่อนเรียน  เนื้อหาบทเรียน แบบทดสอบท้ายบท และบทสรุป โดยเนื้อหาบทเรียน แบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ เครื่องมือและอุปกรณ์เย็บผ้า การวัดตัว และการสร้างแบบ เนื้อหาถูกถ่ายทอดในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงอธิบาย พร้อมข้อความบรรยายอย่างชัดเจนทีละขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ทบทวนเนื้อหาได้ด้วยตนเองตลอดเวลา


ผลการศึกษาพบว่า ค่า E1/E2 ของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 84.43/88.33 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนสามารถนำมาเป็นสื่อสอนเสริมหรือทบทวนเนื้อหาบทเรียนได้ โดยเฉพาะเนื้อหาที่เป็นส่วนของทฤษฎี และนักศึกษาสามารถทบทวนเนื้อหาการปฏิบัติเรื่องการวัดตัวและการสร้างแบบได้ด้วยตนเองนอกเวลา อีกทั้งผลการประเมินคุณภาพของบทเรียน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และค่า S.D. เท่ากับ 0.58 และการประเมินคุณภาพด้านมัลติมีเดีย ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 และค่า S.D. เท่ากับ 0.66 สรุปคือ การประเมินคุณภาพของบทเรียน อยู่ในระดับดี และการประเมินคุณภาพมัลติมีเดีย อยู่ในระดับดี เช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมการจัดหางาน. (2559). ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอาชีพ ปี 2558 – 2562. สืบค้นจาก
https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/bkk_th/a8b1450c699bf90745de2cf8221447b6.pdf
[2] นันทนา แสงสว่าง. (2545). ผ้าและการแต่งกาย ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง 2546). กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (อัดสำเนา)
[3] ณัฐกร บินอับดุรามัน. (2551). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย วิชา เทคโนโลยีเครื่องจักรเสื้อผ้า อุตสาหกรรม 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2550) สาขาวิชา
เทคโนโลยี เสื้อผ้า คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[4] ปิยสุดา ตันเลิศ, ไพศาล ดาแร่, ภูริวัฒน์ สุคนธวัฒน์ และ ศิริศักดิ์ พันธวงษ์. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องคอมพิวเตอร์และการใช้งานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 2(2), 72-79.
[5] มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : งานเอกสารและการพิมพ์ กองบริการการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
[7] กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
[8] รุจโรจน์ แก้วอุไร. (2545). แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวการออกแบบของกาเย่. สืบค้นจาก http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355542/evaluate.htm
[9] ศิริชัย นามบุรี. (2542). การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์การสอน วิชา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.
[10] ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2557). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. สืบค้นจาก http://www.eledu.ssru.ac.th/chaiwat_je/file.php/1/CAI.ppt