ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ครูและบุคลากรทางการศึกษา

Main Article Content

สมัย สลักศิลป์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถ่ายทอดโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กับครูและบุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 และ 2) เพื่อศึกษาการยอมรับและการนำไปใช้ของครูที่มีต่อสื่อโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 126 คน จาก 63 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2) แบบสอบถามการยอมรับและการนำไปใช้  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการถ่ายทอดโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า มีโรงเรียนจำนวน 63 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ และผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมการถ่ายทอดโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กับครูและบุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 2 รุ่น และ   2) ผลการศึกษาการยอมรับและการนำไปใช้  พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นด้านพบว่า ด้านความง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการรับรู้ถึงประโยชน์  อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.
[2] วรปภา อารีราษฎร์ และคณะ. รูปแบบกิจกรรมค่ายอาสาเครือข่ายอีดีแอลทีวีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ครั้งที่ 9 NCCIT 2013 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2556.
[3] โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2556]. เข้าถึงได้จาก http://edltv.thai.net/index.php?
mod=Message&op=aboutus.
[4] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เครือข่ายเผยแพร่ ถ่ายทอด และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนบนระบบ e-Learning (eDL-Square) ระยะที่ 2. มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม; 2555.
[5] Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology : A comparison of two theoretical models. Management Science,35(8),
982–1003.
[6] ธวัชชัย สหพงษ์.(2557). รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้โรงเรียน ทสรช. ด้วยกิจกรรมค่ายอาสาเยาวชนทั่วถิ่นไทยเรียนรู้ได้ใต้ร่มพระบารมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. The
Tenth National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2014) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.มหาสารคาม.
[7] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม