การพัฒนารูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จุฑามาศ ผกากลีบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการ


เทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน จัดแบ่งเป็นกลุ่มครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 คน กลุ่มศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน และกลุ่มนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 5 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านนโยบาย องค์ประกอบด้านหลักการทฤษฎี องค์ประกอบด้านบูรณาการ องค์ประกอบด้านตัวชี้วัด และองค์ประกอบด้านนวัตกรรม  2) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อความเหมาะสมของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.52 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบกรอบนโยบาย อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51) ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบหลักการ/ทฤษฎี อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52)  ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) ด้านความเหมาะสมของตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48) ด้านความเหมาะสมของนวัตกรรมการเรียนรู้ ชุดกิจกรรม วีดิทัศน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) ความเหมาะสมของกระบวนการสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ แนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล.
กรุงเทพมหานคร: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่น ซัพพลายส์.
[2] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการ เรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
[3] ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
[4] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). เทคนิค วิธีการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม
การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
[5] มนต์ชัย เทียนทอง. (2551). เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Mentor Coached Think-Pair-Share เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนในการเรียนรู้ออนไลน์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(1), 99-105.
[6] ธันย์ชนก แดนโพธิ์. (2559). ชุดกิจกรรมคืออะไร. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/198155
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 ตุลาคม 2559].
[7] สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิด ระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย.
[ออนไลน์]. ได้จาก: http://biology.ipst.ac.th/?p=688 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2559].
[8] ประสาท เนืองเฉลิม. (2550). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้น. วารสารวิชาการ. [ออนไลน์]. ปีที่10(ฉบับที่ 4), ได้จาก:
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=12098&Key=news_research [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5
กรกฎาคม 2559].
[9] สิทธิชัย วรโชติกำจร และพัชราภรณ์ วรโชติกำจร. (2558). กรอบแนวคิดรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์เป็นฐานด้วยเทคนิค 4 MAT ร่วมกับกิจกรรมแบบ Mentor Coached
Think-Pair-Share ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. [ออนไลน์]. ปีที่3 (ฉบับที่ 2), 6-15. ได้จาก: https://www.tci-
thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/93091 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2559]. อ้างอิงจาก สุพล วังสิน. (2543). การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ. วารสารวิชาการ, ปีที่3, หน้า 9 - 13.
[10] มนต์ชัย เทียนทอง. (2551). การเรียนรู้ร่วมกันแบบเพื่อนคู่คิด Think-Pair-Share โดยประยุกต์ขึ้นใหม่เป็นแบบ Mentor Coached Think-Pair-Share. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชา
คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[11] วิจารย์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับลิเคชั่น.
[12] วิญญู อุตระ. (2558). การส่งเสริมครูพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[13] สิทธิชัย วรโชติกำจร และพัชราภรณ์ วรโชติกำจร. (2558). กรอบแนวคิดรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์เป็นฐานด้วยเทคนิค 4 MAT ร่วมกับกิจกรรมแบบ Mentor Coached
Think-Pair-Share ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. [ออนไลน์]. ปีที่3 (ฉบับที่ 2), 6-15. ได้จาก: https://www.tci-
thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/93091 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2559].
[14] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์น.